บทความปี : ทั้งหมด | 2560 | 2558 | 2557 | 2556 | 2555 | 2554 | 2553 | 2552 | 2551 | 2550 | 2549 | 2548 | 2547 | 2546 | 2545 |

ปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2553

 อรสา   ชูสกุล          ในปี พ.ศ. 2553 นี้ทางองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้เนื่องมาจากในปัจจุบันความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกกำลังถูกคุกคาม และเกิดความสูญเสียในอัตราที่สูงขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากมนุษย์และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น การเกิดสึนามิ อุทกภัย แผ่นดินไหว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสภาพถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ Read More.

 11,533 total views

ไขความจริงจากลายพิมพ์ดีเอ็นเอ

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2553

 อาจารย์ภัทรา  พลับเจริญสุข** ในอดีตคนทั่วไปจะไม่รู้จักคำว่าดีเอ็นเอ (DNA)  นักวิทยาศาสตร์เท่านั้นที่เข้าใจในเรื่องดีเอ็นเอ  แต่ปัจจุบัน DNA กลับมีความสำคัญและมีบทบาทอย่างแพร่หลายแทบทุกวงการ ตั้งแต่วงการวิทยาศาสตร์  การแพทย์ การเกษตร การพิสูจน์หลักฐานหรือตรวจเอกลักษณ์เฉพาะบุคคล   และการจำแนกสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตามที่พบเห็นได้ในหน้าหนังสือพิมพ์  หรือการรายงานข่าว  เช่น Read More.

 5,416 total views

เมล็ดเทียม (12 กค 53)

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2553

ธีรพัฒน์   เวชชประสิทธิ์          เมล็ดเทียม  (artificial seed) เป็นการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในการสร้างสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเมล็ดเพื่อเลียนแบบเมล็ดพืชที่ได้จากการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศตามธรรมชาติ การทำเมล็ดเทียมอาศัยหลักการห่อหุ้มส่วนต่างๆ ของพืชด้วยวัสดุที่เหมาะสม โดยอาจจะมีการเติมสารที่ทำหน้าที่เป็นเอนโดสเปิร์มเทียม (artificial endosperm) เช่น สารอาหาร สารควบคุมการเจริญเติบโต Read More.

 14,668 total views

โรคชราในเด็ก (พ.ค. 53)

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2553

นภาพันธุ์   เรืองเสถียรทนต์        เป็นที่ทราบดีแล้วว่าสัตว์และมนุษย์มีวัฏจักรชีวิตเวียนวนกันไปตั้งแต่เกิด  แก่  เจ็บ  ตาย  ซึ่งภายในร่างกายของสัตว์และมนุษย์ก็เช่นเดียวกันที่พบว่า เซลล์มีการแบ่งเซลล์เกิดขึ้นใหม่ทดแทนเซลล์เดิมที่เสื่อมสภาพและตายไปได้  นอกจากนี้เซลล์ที่เจริญเติบโตย่อมมีการชราภาพเกิดขึ้นได้ด้วย  เนื่องจากเมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้นมักจะมีการสะสมของเสียเพิ่มขึ้น และการชราภาพของเซลล์อาจเกี่ยวข้องกับยีนด้วย  ดังนั้นการชราภาพของเซลล์จึงเป็นสิ่งที่กำหนดอายุขัยของสิ่งมีชีวิต  นอกจากนี้อายุขัยของสิ่งมีชีวิตควบคุมโดยยีนและสิ่งแวดล้อม   ความผิดปกติที่เซลล์แก่ตัวเร็วกว่าปกติ Read More.

 9,119 total views

ดอกพุดตานเปลี่ยนสี: การสร้างสรรค์จากธรรมชาติ

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2553

ดร.วนิดา  ธนประโยชน์ศักดิ์                   บ่อยครั้งเวลาที่ต้นพุดตานออกดอก    ผู้เขียนมักจะเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนสีของดอกในรอบวัน  ช่างสวยงามยิ่งนัก  เมื่อดอกบานตอนเช้าจะมีสีงาช้างหรือสีขาว พอสายหน่อยดอกจะเริ่มมีสีชมพูอ่อนๆ  จนเที่ยงวันดอกจะมีสีชมพูชัดเจน และในช่วงเย็นดอกจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูแดงหรือสีบานเย็น ในตอนค่ำเมื่อดอกหุบสีดอกก็ยังคงเป็นสีชมพูแดงและดอกที่หุบนี้จะยังคงติดอยู่ที่ต้นอีกประมาณ 2-3 วันจึงร่วงหลุดจากต้น  จึงอดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมดอกพุดตานจึงสามารถเปลี่ยนสีในดอกเดียวกันได้หลายสีในช่วงเวลาต่างๆ กันของวัน  ซึ่งความมหัศจรรย์ของการเปลี่ยนสีของดอกพุดตานนี้เกิดจากการสร้างสรรค์ของธรรมชาติโดยแท้  ซึ่งเราจะได้ทราบกันต่อไป                 พุดตาน  มีชื่อสามัญเรียกกันหลากหลาย เช่น Cotton rose, Confederate rose และ Changeable rose   เป็นต้น Read More.

 36,390 total views