บทบาทหน้าที่

งานพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาชีววิทยาในโรงเรียน

โครงสร้างหลักสูตรที่ ๒
โครงสร้างหลักสูตรที่ ๓


เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้หลักสูตรในโครงสร้างที่ ๓ สาขาชีววิทยาจึงได้มีการพัฒนาสื่อโสต ประเภท แผ่นภาพโปร่งใส โปสเตอร์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) เพื่อนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน

การให้การบริการทางด้านวิชาการ
ทางสาขาชีววิทยาได้ทำการเลี้ยงตัวอย่างสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก อาทิเช่น ไฮดรา พลานาเรีย พารามีเซียม ตลอดจนสาหร่ายไฟ สาหร่ายหางกระรอก เป็นต้น ซึ่งเป็นตัวอย่างสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการเรียนการสอนทั้งในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเปิดให้บริการตัวอย่าง เหล่านี้แก่โรงเรียนและสถานศึกษาต่าง ๆ ที่ต้องการโดยไม่คิดมูลค่าในเวลาราชการ พร้อมทั้งตอบปัญหาและให้คำปรึกษาในการเรียนการสอนแก่ครู และนักเรียนเกี่ยวกับวิชาชีววิทยา ตัวอย่างทักษะน่ารู้ทางด้านชีววิทยา ที่ทางสาขาชีววิทยาได้จัดทำรวมเล่มไว้ใน เอกสารประกอบการอบรมเรื่อง เทคนิคในการปฏิบัติการทางชีววิทยา

การปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมในโครงการ พสวท. และ คสวค.
ทางสาขาชีววิทยาได้ปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมและอุปกรณ์ การเรียนการสอนให้มีคุณภาพเหมาะสมกับกิจกรรม เพื่อให้สอดคล้องกับเวลา จำนวนนักเรียนและเลือกใช้ตามความเหมาะสมของสภาพโรงเรียน พร้อมทั้งได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้กับกิจกรรมการเรียนการสอน


  • การอบรมครูวิทยากรแกนนำ
  • การอบรมครูผู้สอนวิชาชีววิทยา
  • การจัดแข่งขันชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ
  • การสอบคัดเลือกนักเรียนระดับประเทศ รอบที่ ๑
  • การสอบคัดเลือกนักเรียนระดับประเทศ รอบที่ ๒
  • การเข้าค่ายอบรมเข้มนักเรียนระดับประเทศ ครั้งที่ ๑
  • การเข้าค่ายอบรมเข้มนักเรียนระดับประเทศ ครั้งที่ ๒
  • การเข้าค่ายอบรมเข้มนักเรียนระดับประเทศ ครั้งที่ ๓
  • การแข่งขันนักเรียนชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ