ปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2553

 อรสา   ชูสกุล

         ในปี พ.ศ. 2553 นี้ทางองค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้เป็นปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งนี้เนื่องมาจากในปัจจุบันความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกกำลังถูกคุกคาม และเกิดความสูญเสียในอัตราที่สูงขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากมนุษย์และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น การเกิดสึนามิ อุทกภัย แผ่นดินไหว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การทำลายหรือเปลี่ยนแปลงสภาพถิ่นที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ เป็นต้น ดังนั้นทางองค์การสหประชาชาติจึงได้กระตุ้นให้ทั่วโลกเห็นความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและตื่นตัวต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อลดอัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต ทุกคนคงเคยได้ยินหรือเคยเห็นคำว่าความหลากหลายทางชีวภาพจากสื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ  หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต หรือแม้กระทั่งในหนังสือเรียน แต่บางคนอาจไม่เข้าใจความหมายของคำว่าความหลากหลายทางชีวภาพที่แท้จริงว่าหมายถึงอะไรกันแน่

          ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) เป็นคำที่ถูกนำมาใช้ในแวดวงวิชาการอย่างเป็นทางการในประเทศไทยเมื่อปลายปีพ.ศ. 2532 หมายถึง ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ จุลินทรีย์ที่ต่างก็มีความหลากหลายในทุกระดับนับตั้งแต่ยีนหรือพันธุกรรม (ดีเอ็นเอหรืออาร์เอ็นเอ) ถึงระดับความหลากหลายของชนิดหรือสปีชีส์ที่มีความเชื่อมโยงกันเป็นสายใยในระบบนิเวศที่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นผลพวงมาจากกระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลกและกระจายตัวอยู่ทั่วไปบนโลก  (ศ.ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้, บทสัมภาษณ์ผู้จัดการออนไลน์ 26 กุมภาพันธ์ 2553)

ความหลากหลายทางชีวภาพสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

1. ความหลากหลายของพันธุกรรม (genetic diversity) ของสิ่งมีชีวิต หมายถึง ความหลากหลายที่แตกต่างกันของพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด

2. ความหลากหลายของสปีชีส์ (species diversity) ของสิ่งมีชีวิต  หมายถึง ความหลากหลายที่แตกต่างกันของสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในระบบนิเวศต่างๆ ตามธรรมชาติ ซึ่งระบบนิเวศที่อยู่บริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรหรืออยู่ในเขตร้อน จะมีความหลากหลายของสปีชีส์สูงกว่าระบบนิเวศในเขตอบอุ่นหรือเขตหนาว

3. ความหลากหลายของระบบนิเวศ (ecosystem diversity) หมายถึง ความหลากหลายที่แตกต่างกันในระบบนิเวศที่มีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่รวมกัน ซึ่งระบบนิเวศในโลกนี้มีหลากหลาย ทั้งระบบนิเวศบนบกและระบบนิเวศในน้ำ

         สำหรับประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการกำเนิดสิ่งมีชีวิตเนื่องจากมีความเหมาะสมของถิ่นที่อยู่อาศัย และแพร่กระจายพันธุ์ ซึ่งประมาณได้ว่าในประเทศไทยมีความหลากหลายของชนิดสิ่งมีชีวิตประมาณ 10% ของโลก โดยมีพันธุ์พืชจำนวนมากกว่า 15,000 ชนิด มีนกจำนวนมากกว่า 930 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมจำนวนมากกว่า 300 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานจำนวนมากกว่า 300 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกมากกว่า 110 ชนิด และปลาจำนวนมากกว่า 1,400 ชนิด (ศ.ดร.วิสุทธิ์ ใบไม้, บทสัมภาษณ์ผู้จัดการออนไลน์ 26 กุมภาพันธ์ 2553) ซึ่งความหลากหลายของสปีชีส์ของสิ่งมีชีวิตในประเทศไทยกำลังเสี่ยงต่อการถูกคุกคาม และสูญพันธุ์ดังนั้นสำนักงานนโยบายแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้จัดเตรียมแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพืชและสัตว์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553-2555 เพื่อสอดรับกับปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพนี้ด้วย  โดยได้คัดเลือกพันธุ์สัตว์จำนวน 20 ชนิด และพันธุ์พืชจำนวน 10 ชนิด สำหรับการอนุรักษ์และฟื้นฟู โดยได้เปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา

พันธุ์สัตว์จำนวน 20 ชนิด ที่ได้รับการคัดเลือกมีดังนี้

 53-7-1

นกกระเรียน *1

 53-7-2

นกแต้วแร้วท้องดำ *2

 53-7-3

นกกก *3

 53-7-4

นกกระสาคอดำ *4

53-7-5

 ไก่ฟ้าพญาลอ *5

53-7-6

 ไก่พันธุ์เหลืองหางขาว *6

53-7-7

เสือโคร่ง *7

 53-7-8

ช้างเอเชีย *8

 53-7-9

พะยูน *9

 53-7-10

ละมั่ง *10

 53-7-11

โลมาอิรวดี *11

 53-7-12

เต่ามะเฟือง *12

 53-7-13

 ตะพาบม่านลาย *13

 53-7-14

หอยมือเสือ  *14

 53-7-15

ปูเจ้าพ่อหลวง *15

 53-7-16

 ปูราชินี *16

 53-7-17

กระท่าง *17

53-7-18

ปลากะโห้ *18

53-7-1953-7-19

 สมเสร็จ *19

 OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ผีเสื้อถุงทอง *20

 53-7-21

ชายผ้าสีดา

 53-7-22

 ฟ้ามุ่ยน้อย *21

53-7-23

 กุหลาบพันปีลังกาหลวง *22

 53-7-24

ค้อเชียงดาว *23

 53-7-25

 พลับพลึงธาร *24

 53-7-26

 กันภัยมหิดล *25

 53-7-27

 เพชรหึง *26

  53-7-28

 เหลืองจันทบูร *27

 53-7-29

 รองเท้านารีเหลืองเลย *28

 53-7-30

จันทน์ผา *29

 * ที่มาภาพ

1. นกกระเรียน

http://www.moohin.com/animals/birds-22.shtml

2. นกแต้วแร้วท้องดำ

http://www.moohin.com/animals/birds-74.shtml

3. นกเงือก  ในที่นี้ขอยกภาพตัวอย่างนกกก ซึ่งเป็นนกที่อยู่ในกลุ่มของนกเงือก

http://thaihornbill.org.www.readyplanet5.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538824374&Ntype=5

4. นกกระสาคอดำ

http://www.moohin.com/animals/birds-27.shtml

5. ไก่ฟ้าพญาลอ

http://www.dnp.go.th/multi_prov_forest/a09.asp

6. ไก่พันธุ์เหลืองหางขาว

http://buffbible.blogspot.com/2009_07_12_archive.html

7. เสือโคร่ง

http://www.verdantplanet.org/animalfiles/tiger_(Panthera_tigris)1.jpg

8. ช้างเอเชีย

http://www.vcharkarn.com/varticle/40118

9. พะยูน

http://board.trekkingthai.com/board/print.php?forum_id=18&topic_no=122446&topic_id=123896&mode=normal

10. ละมั่ง

http://blog.eduzones.com/ezine/46684

11. โลมาอิรวดี

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:Orcaella_brevirostrisx.jpg

12. เต่าทะเล  ในที่นี้ขอยกภาพตัวอย่างเต่ามะเฟือง ซึ่งเป็นนกที่อยู่ในกลุ่มของเต่าทะเล

http://www.moohin.com/059/059m015.shtml

13. ตะพาบม่านลาย

http://www.trf.or.th/RE/x.asp?Art_ID=126

14. หอยมือเสือ

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/1/11/Giant_clam_or_Tridacna_gigas.jpg

15. ปูเจ้าพ่อหลวง

http://www.oknation.net/blog/zoozoo/2007/11/14/entry-1

16. ปูราชินี

http://www.lib.ru.ac.th/journal/demanietta_crab.html

17. กระท่าง

18. ปลากะโห้

http://www.siamfishing.com/board/view.php?tid=52430

19. สมเสร็จ

http://www.nok512.ob.tc/new_page_12.htm

20. ผีเสื้อถุงทอง

http://www.savebutterfly.com/forums/index.php?topic=1467.0

21. ฟ้ามุ่ยน้อย

http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=linsay&id=271

22. กุหลาบพันปี ในที่นี้ขอยกภาพตัวอย่างกุหลาบพันปีลังกาหลวง ซึ่งอยู่ในกลุ่มของกุหลาบพันปี

กุหลาบพันปีลังกาหลวง

http://www.thaibiodiversity.org/Life/LifeDetail.aspx?LifeID=570

23. ค้อเชียงดาว

http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=ibeye&month=02-2007&date=05&group=2&gblog=3

24. พลับพลึงธาร

http://i.kapook.com/tripplep/17-11-52/plubplung1.jpg

25. กันภัยมหิดล

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%A5%E0%B9%8C:PB140182.jpg

26. เพชรหึง

http://www.muangsiri.com/?content=cat&cat=12&p=72&name=%C7%E8%D2%B9%E0%BE%AA%C3%CB%D6%A7

27. เหลืองจันทบูร

http://www.orchidsiam.com/th/index.php?option=com_fireboard&Itemid=56&func=view&id=5894&catid=45

28. รองเท้านารี  ในที่นี้ขอยกภาพตัวอย่างรองเท้านารีเหลืองเลย ซึ่งอยู่ในกลุ่มของรองเท้านารี

http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=orchid555&id=268

 

เอกสารอ้างอิง 1.  http://en.wikipedia.org/wiki/Biodiversity retrieved 02/08/2010

   2.  http://www.csc.ku.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=1122:2010-05-06-14-39-51&catid=35:2008-06-12-04-33-53&Itemid=97retrievd 02/08/2010

   3. http://www.globalissues.org/issue/169/biodiversity retrieved 02/08/2010

   4. http://www.eoearth.org/article/biodiversity retrieved 02/08/2010

   5. http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000027571retrieved 02/08/2010

 11,502 total views,  1 views today