นักวิทยาศาสตร์ยืนยันการแสดงออกบนใบหน้าทารกในครรภ์ (ก.ย. 54)

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2554

 

 

 

 

      ยิ่งมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น ก็ทำให้มนุษย์มีเครื่องมือในการค้นคว้าและตรวจสอบเพื่อหาข้อมูลได้มากขึ้น ส่งผลทำให้ในปัจจุบันนี้การศึกษาทางด้านการแพทย์ในด้านต่างๆ มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้น รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบของการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ ความเครียด และการรับรู้เกี่ยวกับความเจ็บปวดของทารกในครรภ์ (fetus – ชื่อเรียกระยะการเจริญของตัวอ่อน สำหรับมนุษย์จะเริ่มนับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 9 หลังจากเกิดการปฏิสนธิจนถึงคลอด) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กัน และกำลังได้รับการศึกษาหาข้อมูลอย่างต่อเนื่อง โดยมีความคาดหวังว่า จะสามารถเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวนี้ เข้ากับข้อมูลทางด้านอื่นๆ ของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีการศึกษาไว้แล้ว และในอนาคตอาจจะนำข้อมูลมาใช้ในการหารูปแบบ การทำนาย การรักษา และการป้องกันโรคต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ เด็ก และผู้ใหญ่

      ทีมนักวิจัยอังกฤษ ซึ่งประกอบด้วยนักจิตวิทยา นักสถิติ และแพทย์ ร่วมกันศึกษาเกี่ยวกับการแสดงออกบนใบหน้าของทารกในครรภ์ โดยทำการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจากโรงพยาบาล James Cook University Hospital, Middlesbrough, UK. โดยใช้เครื่องอัลตราซาวน์แบบ4 มิติ (4D ultrasound) ศึกษาดูการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้าของทารกในครรภ์ อายุ 24-35 สัปดาห์

      โดยทำการศึกษาทารกในครรภ์เพศหญิงที่มีสุขภาพดี2 คน โดยแม่ของทารกเพศหญิงคนแรกจะถูกนัดมาทำการสแกนด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ตอนอายุครรภ์24, 27, และ 34 สัปดาห์ ส่วนแม่ของทารกเพศหญิงคนที่สองจะถูกนัดมาทำการสแกนด้วยเครื่องอัลตราซาวน์ตอนอายุครรภ์24, 28, 32, และ 35 สัปดาห์ ในการศึกษาด้วยเครื่องอัลตราซาวน์แบบ 4 มิติจะทำการศึกษาการแสดงออกบนในหน้าของทารกที่อยู่ในครรภ์เป็นเวลา20 นาทีต่อครั้งที่นัดมา และหลังจากนั้นก็จะติดตามศึกษาน้ำหนักของทารกหลังจากคลอด โดยหลังจากคลอดทารกคนแรกที่ทำการศึกษามีน้ำหนักตัว 9ปอนด์ 8ออนซ์ (ประมาณ 4.30กิโลกรัม) ทารกคนที่สองมีน้ำหนักตัว7 ปอนด์ 4ออนซ์ (ประมาณ 3.28กิโลกรัม) โดยก่อนทำการศึกษาทีมวิจัยจะแจ้งให้แม่ของเด็กทราบก่อนว่านี่เป็นการศึกษาเฉพาะการแสดงออกบนใบหน้าของทารกในครรภ์เท่านั้นซึ่งยังไม่เคยมีการศึกษาในเรื่องนี้มาก่อน และจะทำการศึกษาการแสดงออกบนใบหน้าทั้งหมด 19 ลักษณะ ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 การแสดงออกบนใบหน้าของทารก19 ลักษณะ ของใบหน้าแบบร้องไห้ และแบบหัวเราะ

 

ใบหน้าแบบร้องไห้(

 

Laughter-face gestalt)1. Inner Brow Raise 

ü 

(ยกคิ้วด้านนอกขึ้นด้านบน) 

3. Brow Lowerer 

ü

(แก้มขยับตัวยกสูงขึ้น)

ü5. Nose Wrinkle 

ü

(ริมฝีปากบนขยับ) 

7. Nasolabial Crease 

ü

(เปิดริมฝีปาก) 

ü9. Dimpler

 

(รอยที่มุมปาก) 

11. Lower Lip Depressor 

ü 

(การขยับของกล้ามเนื้อบริเวณคาง) 

13. Lip Pucker 

 

(แลบลิ้น) 

ü15. Lip Stretch 

 

(เม้มปาก) 

17. Lip parting 

ü

(อ้าปาก)

ü19. Lip Suck 

 

 

54-11-1 

 

(Reissland, 2011)     a)24 สัปดาห์    b)27.5 สัปดาห์     ( อายุ (d)   ภาพที่ การแสดงออกบนใบหน้าของทารกในครรภ์

( ใบหน้าปกติ อายุ ( ใบหน้าปกติ อายุ     c)32.5 สัปดาห์  ใบหน้าแบบร้องไห้ อายุ สัปดาห์

 

3-6 และเดือนที่ 6-9 ของการตั้งครรภ์ทารกเริ่มมีการแสดงออกบนใบหน้าแล้ว แต่ในระยะแรกการแสดงออกบนใบหน้าเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อมัดเดียวมากกว่าการทำงานประสานกันของกล้ามเนื้อหลายๆ มัด และจะมีการพัฒนาของการแสดงออกบนใบหน้าซับซ้อนมากขึ้นเมื่อทารกมีอายุมากขึ้น จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าการแสดงออกของใบหน้าแบบร้องไห้จะเจริญและพัฒนาขึ้นในขณะที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาก่อนคลอดแต่จะยังไม่สมบูรณ์แบบ โดยการแสดงออกของใบหน้าแบบร้องไห้จะเกิดขึ้นสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อทารกได้คลอดออกมาสัมผัสกับอากาศและสามารถส่งเสียงร้องไห้ได้เมื่อปอดเริ่มทำงาน ซึ่งภาพที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถยืนยันได้ว่าทารกที่อยู่ในครรภ์สามารถแสดงออกบนใบหน้าแบบร้องไห้ได้แล้วถึงแม้จะยังไม่สมบูรณ์แบบก็ตาม

เอกสารอ้างอิงLee, S.J., Ralston, H.J.P., Drey, E.A., Partridge, J.C., Rosen, M.A.  Fetal Pain: Asystematic Multidisciplinary Review of the Evidence. The Journal of the American Medical Association. 294. P947-954.

(2011)Do Facial Expressions Develop before Birth?(8)Suveg, C., Southam-Gerow, M.A., Goodman, K.L., and Kendall, P.C.  The Role of Emotion Theory and Research in Child Therapy Development. Clinical Psychology: Science and Practice, 14: p358-371.

 

 

 4,557 total views,  3 views today