มารู้จักกับพืชสมุนไพร 13 ชนิดที่ประกาศว่าอันตราย ตอนจบ

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2552

52-5-1

โดย… นางสาวนภาพันธุ์  เรืองสเถียรทนต์

8. กากเมล็ดชา   
 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Camellia sinensis L.   
วงศ์ : THEACEAE   
ชื่ออื่น : Tea plant  เมี่ยง  เมี่ยงดอย 
         ชาเป็นพืชที่มีลักษณะเป็นพุ่ม ใบสีเขียว  ดอกมีสีขาว  เมื่อดอกชาโตเต็มที่จะให้ผลชา ซึ่งภายในมีเมล็ดเล็กๆ ตั้งแต่หนึ่งถึงสามเมล็ด

         กากเมล็ดชา ( tea seed cake) เป็นส่วนที่เหลือจากการหีบน้ำมันจากเมล็ดชา มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง  ในเมล็ดชามีสารซาโปนิน (saponin) ซึ่งใช้ในการกำจัดปลาต่างๆ ในนากุ้ง และกำจัดหอยเชอรี่  โดยกากเมล็ดชาจะสลายตัวได้เร็วจึงไม่มีพิษตกค้างที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำอื่นๆ ในแม่น้ำ ลำคลอง 

                                                      52-5-2  

                                                                                 ภาพที่ 8 ชา 
     
9. พริก    

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Capsicum frutescens L.   
วงศ์ : SOLANACEAE 
ชื่ออื่น : Chilli peppers, chili, chile  พริกมีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนูพริกไทยพริกหยวกพริกเหลืองพริกชี้ฟ้า 
               พริกเป็นเครื่องเทศที่สำคัญชนิดหนึ่ง  ในไส้พริกจะมีสารแคปไซซิน (capsaicin) ที่ทำให้เกิดรสเผ็ด  สรรพคุณของพริก เช่น ช่วยขับลม  แก้ท้องอืด  ช่วยให้ความดันเลือดลดลง  ลดการเกิดการอุดตันของหลอดเลือดอันเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบ  ช่วยลดอาการปวด  กระตุ้นให้อยากอาหาร  นอกจากนี้ใบและดอกของพริกสามารถนำมาสกัดเป็นยาป้องกันและกำจัดแมลงได้ 

                                                    52-5-3

                                                                                 ภาพที่ 9 พริก     

10. ขึ้นฉ่าย   
   
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Apium graveolens L. 
วงศ์ : UMBELLIFERAE 
ชื่ออื่น : Celery ผักข้าวปืน  ฮั่งขึ่ง  
               ขึ้นฉ่ายจัดเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 40-60 เซนติเมตร ลำต้นอ่อนนิ่ม  ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงข้ามกัน  ใบสีเหลืองอมเขียว ขอบใบหยัก  ลักษณะดอกเป็นช่อดอกแบบซี่ร่มมีสีขาว 
ขึ้นฉ่ายเป็นผักและสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถนำมาปรุงเป็นอาหาร  รับประทานเป็นผักสด และนำไปทำเป็นน้ำสมุนไพร   น้ำมันหอมระเหยในลำต้นและใบมีฤทธิ์ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร  ทำให้หายจุกเสียดแน่นท้อง  ช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน  ช่วยในการรักษาโรคความดันเลือดสูง  ส่วนรากช่วยในการรักษาอาการปวดตามข้อ

                                                               52-5-4

                                                                           ภาพที่ 10 ขึ้นฉ่าย 
      
11.ชุมเห็ดเทศ    
    
ชื่อวิทยาศาสตร์  :  Senna alata L. 
วงศ์  : LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE    
ชื่ออื่น  : Ringworm bush, Candelabra bush  ขี้คาก  ลับมืนหลวง  หมากกะลิงเทศ  ตะสีพอ  
              ชุมเห็ดเทศจัดเป็นไม้พุ่ม สูงประมาณ 1-3 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ลักษณะดอกเป็นช่อดอก  กลีบดอกมีสีเหลืองเข้ม   ดอกเเละใบชุมเห็ดเทศมีสรรพคุณเป็นยาระบาย  รักษากลากเกลื้อนและผิวหนังผื่นคัน

                                                   52-5-5

                                                                        ภาพที่ 11 ชุมเห็ดเทศ 
    
12.  ดองดึง    

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gloriosa  superba L.   
วงศ์ : COLCHICACEAE 
ชื่ออื่น : Climbing Lily  พันมหา  หัวขวาน  คมขวาน  มะขาโก้ง 
               ดองดึงจัดเป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดินรูปร่างคล้ายหัวขวาน  ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ  ใบรูปหอก   ปลายใบเรียวแหลม และม้วนงอเป็นมือเกาะ  ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ กลีบดอกสีเหลือง ปลายกลีบสีแดง เมื่อแก่จะเป็นสีแดงทั้งดอก 

               ดองดึงเป็นสมุนไพรที่มีความเป็นพิษสูง  หากรับประทานเข้าไปสามารถทำให้เสียชีวิตได้ โดยสารที่ทำให้เกิดพิษคือ โคลซิซีน (colchicine) ซึ่งขนาดที่ทำให้เกิดพิษจะต่ำมาก

                                          52-5-6

                                                                        ภาพที่ 2 ดองดึง
      
13. หนอนตายหยาก           

ชื่อวิทยาศาสตร์  : Stemona  tuberosa Lour.   
วงศ์ : STEMONACEAE  
ชื่ออื่น : พญาร้อยหัว  กระเพียด   ต้นสามสิบกลีบ  สลอดเชียงคำ 

              หนอนตายหยากเป็นพันธุ์ไม้จำพวกไม้เลื้อย  ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกัน ใบรูปหัวใจโคนใบเว้า ปลายใบเรียวแหลม ลักษณะดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามซอกใบ ดอกสีแดงเข้ม 

              หนอนตายหยาก เป็นพืชสมุนไพรที่ชาวบ้านนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ใช้รักษาโรคผิวหนัง  ผื่นคันตามร่างกาย  ใช้ฆ่าเห็บเหาในสัตว์ประเภทโคและกระบือ  ใช้กำจัดไข่หนอนที่ติดมากับแมลงวัน  ใช้เป็นสารป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช เช่น หนอน กัดกินใบ และเพลี้ยอ่อน รวมทั้งใช้ในการกำจัดลูกน้ำยุง 

                                                               52-5-7

                                                                        ภาพที่ 13 หนอนตายยาก 
   
          ข้อมูลพืชสมุนไพรทั้ง 13 ชนิดที่ได้รวบรวมมานี้เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยทำให้รู้จักพืชเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นพืชที่คุ้นเคยและอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน 
  

เอกสารอ้างอิง 

กองทุนเพื่อการพัฒนาสมุนไพร ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ มูลนิธิมหาวิทยาลัยมหิดล. สารานุกรมสมุนไพร เล่ม 4 กกยาอีสาน. บริษัท อมรินทร์พริ้น 
 

          ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน). 2543. 
ขวัญชัย สมบัติศิริ. หลักการและวิธีการใชสะเดาป้องกันและกําจัดแมลงศัตรูพืช. เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ ฉบับที่ 1 โครงการเกษตรกู้ชาติ
  
          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2542  
คณะกรรมการฝ่ายหาทุน มูลนิธิสวนหลวง ร.9.พรรณไม้ในสวนหลวง ร.9.พิมพ์ครั้งที่ 3. 2539.  
เชตวัน เตือประโคน. พืชอาหาร-สมุนไพร 13 ชนิด ขึ้นทะเบียนเป็นวัตถุอันตรายมีพิษหรือมีประโยชน์. หนังสือพิมพ์มติ

         ชน ฉบับวันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552. หน้า 20 . 
เต็ม สมิตินันทน์. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้  สำนักวิชาการป่าไม้  กรมป่าไม้. 2544.  
นันทวัน บุณยะประภัศร และ อรนุช โชคชัย เจริญพร. สมุนไพรพื้นบ้าน (5). บริษัทประชาชน จำกัด กทม.  2543.  
นิโลบล วานิชชา และ ชวลิต ทัศนสว่าง. 2527. การศึกษาประสิทธิภาพของสมุนไพรบางชนิดใช้ ทาป้องกันยุง

      พาหะไข้มาลาเรีย. วารสารโรคติดต่อ, 10 : 2 , 135 – 143.  
พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ. 2526. คู่มือการใช้สมุนไพร. สำนักพิมพ์เมติคัลมีเดีย, กรุงเทพฯ, 298 หน้า. 
วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. พจนานุกรมไม้ดอกไม้ประดับในเมืองไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. 2536.  
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กระทรวงศึกษาธิการ. หนังเสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน

          และเพิ่มเติมชีววิทยา เล่ม 4.  พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของ สกสค., 2550.  
สุธรรม อารีกุล. พืชยาฆ่าแมลงบางชนิดที่น่าสนใจในประเทศไทย.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 2529 
Arnett, R.H.Jr. and Bazinet,G.F.Jr.1977. Plant Biology. 4th Edition. The C.V.Mosby Company, Saint Louis. 
Campbell, N.A. and Reece, J.B. 2002. Biology. 6th Edition. Pearson Education, Inc. USA. 
Haupt, A.W. 1965. An Introduction to Botany. 3rd Edition. McGraw-Hill Company, New York. 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1234404330&grpid=01&catid=04  (retrived March 16, 2009)  
http://www.rakbankerd.com/agriculture/page.php?id=123&s=tblrice  (retrived March 16, 2009) 
http://www.tistr.or.th/t/publication/page_area_show_bc.asp?i1=45&i2=22  (retrived March 16, 2009) 
http://www.panyathai.or.th/  (retrived March 16, 2009)  
http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/..%5Cpubhealth%5Calpinia.html (retrived March 16, 2009)  
http://www.ku.ac.th/kaset60/ku60/marigold.html  (retrived March 16, 2009)  
http://www.nzenzeflowerspauwels.be/ZingOffi.JPG  (retrived March 16, 2009)  
www.camelliasrus.com.au/species.html  (retrived March 16, 2009)  
www.summagallicana.it/lessico/a/apio.html (retrived March 16, 2009) 
www.thaiherb.most.go.th/plantdetail.php?id=499  (retrived March 16, 2009)  
www.ntbg.org/…/plant_details.php?plantid=3652  retrived March 16, 2009) 
www.gotoknow.org/blog/thaikm/2689(retrived March 16, 2009)   
http://www.wikipedia.org/(retrived March 16, 2009) 
 

 7,580 total views,  1 views today