หมู่เกาะกาลาปากอส

เขียนโดย webmaster เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2552

 

52-2-1

โดย.. นายธีรพัฒน์  เวชชประสิทธิ์     
 
 

52-2-2

สถานที่ตั้ง

             กาลาปากอสเป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ห่างจากชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้ไปในแนวเส้นศูนย์สูตรประมาณ 1,000 กิโลเมตร กาลาปากอสเป็นหมู่เกาะที่ประกอบไปด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 19 เกาะ รวมพื้นที่ของหมู่เกาะประมาณ 8,000 ตารางกิโลเมตร หมู่เกาะกาลาปากอสกำเนิดมาจากภูเขาไฟซึ่งในปัจจุบันภูเขาไฟที่อยู่ทางตะวันตกของหมู่เกาะหลายลูกยังเป็นภูเขาไฟที่ยังไม่ดับ พื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่เกาะกาลาปากอสได้ถูกจัดตั้งเป็นพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติ รวมทั้งเป็นพื้นที่สงวนทางทะเลอีกด้วย จนกระทั้งในปี ค.ศ. 2001 พื้นที่ดังกล่าวได้รับการประกาศให้เป็นพื้นที่มรดกโลกทั้งทางบกและทะเลโดย องค์กร UNESCO

  

Charles Darwin กับกาลาปากอส

              ความมีชื่อเสียงของหมู่เกาะกาลาปากอสที่ทำให้นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักวิทยาศาสตร์อยากมีโอกาสไปเยือนกาลาปากอส เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1835 เมื่อชายชาวอังกฤษที่ชื่อ Charles Darwin ได้มีโอกาสมาเยือนหมู่เกาะแห่งนี้ Darwinซึ่งเดินทางมาพร้อมกับเรือ Beagle ซึ่ง     เป้าหมายในการเดินทางครั้งนี้คือการสำรวจสิ่งมีชีวิตต่างๆ ฟอสซิส และสภาพภูมิประเทศตามแนวชายฝั่งทะเลทั่วโลก หลังจากใช้ระยะเวลา 3 ปี  ในการสำรวจชายฝั่งแถบสาธารณรัฐอาร์เจนตินาและประเทศชิลี 



ที่มา : http://www.gct.org/index.html                                                                                                                                                                                                                                                                                    52-2-3            สถานที่แรกในหมู่เกาะกาลาปากอสที่ Darwin ได้สำรวจสิ่งมีชีวิตคือ เกาะ  San Cristobal ที่เกาะแห่งนี้ Darwin พบสัตว์และพืชที่มีความแตกต่างกันหลายชนิดซึ่งรวมไปถึง อีกัวนาทะเล เต่ายักษ์ และเหยี่ยวกาลาปากอส หลังจากนั้น Darwin ได้เดินทางต่อไปยังเกาะ  Floreana ที่เกาะแห่งนี้ Darwin ได้พบกับ Nicholas Lawson ผู้ปกครองเกาะชาวอังกฤษ ซึ่งได้กล่าวกับ Darwin ถึงเต่าบนหมู่เกาะกาลาปากอสซึ่งบอกไม่ได้ว่าเต่าเหล่านี้มาจากเกาะใดเกาะหนึ่งเนื่องจากกระดองของเต่าในแต่ละที่มีลักษณะของกระดองที่แตกต่างกัน  ในเวลา 5 สัปดาห์ของการสำรวจ Darwin ยังเดินทางไปยังเกาะต่างๆ อีกหลายเกาะ รวมทั้งเกาะ Isabela ซึ่งเป็นสถานที่แรกที่ได้เห็นอีกัวนาบกอีกด้วย   

  

  

          

52-2-4

 

ความหลากหลายในกาลาปากอส    


            เต่ายักษ์กาลาปากอสเป็นสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดเมื่อเอ่ยถึงหมู่เกาะกาลาปากอส  เต่ายักษ์กาลาปากอส ถูกเรียกว่า Galapago ซึ่งหมายถึงเต่าในภาษาสเปน เต่ายักษ์หนักถึง 250 กิโลกรัมและมีอายุได้นานกว่า 100 ปี เต่ายักษ์บนหมู่เกาะกาลาปากอสมีบรรพบุรุษมาจากเต่าสายพันธุ์เดียวกัน คือ Geochelone elephantopus  ซึ่งปัจจุบันแบ่งออกเป็น 14 ชนิดย่อย และเชื่อว่า 3 ใน 14 ชนิดย่อยนั้นได้สูญพันธุ์ไปแล้ว 

                 ที่มา : http://www.gct.org/index.html 

                ส่วนอีกัวนาเป็นสัตว์ในกลุ่มเดียวกับกิ้งก่าซึ่งบนหมู่เกาะกาลาปากอสพบได้ทั้งอีกัวนาบกและอีกัวนาทะเล อีกัวนาบกที่พบบนเกาะมีลำตัวสีเหลือง    ยาวประมาณ 1 เมตรและมีน้ำหนักประมาณ 13 กิโลกรัม เชื่อกันว่าบรรพบุรุษของอีกัวนาบกมาจากอีกัวนาที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ซึ่งลอยมากับพืชน้ำจนมาถึงหมู่เกาะกาลาปากอส สำหรับอีกัวนาทะเลในหมู่เกาะกาลาปากอสมีความพิเศษกว่ากิ้งก่าชนิดอื่นๆ คือเป็นกิ้งก่าชนิดเดียวในโลกที่อาศัยอยู่บนบกแต่สามารถดำน้ำลงไปในทะเลเพื่อหากินสาหร่ายทะเลชนิดต่างๆ ได้  การที่มันสามารถอยู่ในทะเลและบนบกได้ทำให้อีกัวนาสามารถหลบหนีจากผู้ล่าได้ดี  จึงทำให้พบอีกกัวนาได้ทั่วทุกแห่งในหมู่เกาะนี้และมีจำนวนมากกว่า 300,000 ตัว 

  

   52-2-5

 

  

 นอกจากเต่ายักษ์ อีกัวนาและนกชนิดต่างๆ แล้ว ยังพบพืชประจำถิ่นบนหมู่เกาะนี้อีกกว่า 560 ชนิด ซึ่ง1ใน 3 ของพืชเหล่านี้พบได้เฉพาะในหมู่เกาะแห่งนี้เท่านั้น เนื่องจากบนเกาะขาดแมลงและสัตว์ต่างๆ ที่ช่วยในการผสมเกสร แต่จะอาศัยเต่ายักษ์และอีกัวนาในการขยายพันธุ์โดยผลิตผลซึ่งเป็นอาหารของสัตว์เหล่านี้ สังเกตเห็นว่าไม่ค่อยพบเห็นพืชที่มีดอกใหญ่หรือสีสันสวยงามเพื่อใช้ดึงดูดแมลง  

 

    52-2-6

กาลาปากอสกับวิวัฒนาการ

               หลังจากที่Darwinเดินทางกลับไปยังประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1836 Darwinได้ส่งตัวอย่างสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ไปให้นักวิทยาศาสตร์หลายๆคนช่วยศึกษา ซึ่งจากการศึกษาตัวอย่างนกจำนวน 26 ชนิด พบว่า 25 ชนิดเป็นนกชนิดใหม่ และในจำนวนนั้นมี 3 ตัวอย่างที่พบว่ามีลักษณะแตกต่างกันแต่เมื่อทำการศึกษาแล้วกลับพบว่าเป็นนกชนิดเดียวกัน  

                

               จากข้อมูลต่างๆที่ได้จากการเดินทางไปสำรวจกับเรือ Beagle ทำให้ Darwinได้นำเสนอทฤษฏีวิวัฒนาการ ซึ่งเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่สิ่งมีชีวิตนั้นๆ อาศัยอยู่  



               ตัวอย่างสัตว์ที่แสดงถึงการมีวิวัฒนาการ คือ นกฟินช์ที่อาศัยอยู่ที่หมู่เกาะกาลาปากอส ซึ่งแต่เดิมมีนกฟินซ์อาศัยอยู่บนหมู่เกาะเพียงชนิดเดียวโดยกินเมล็ดพืชตามพื้นดินเป็นอาหาร ต่อมาได้มีวิวัฒนาการกลายเป็นนกฟินซ์ชนิดต่างๆ ประมาณ 14 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีลักษณะของจงอยปากที่แตกต่างกันออกไปตามอาหารที่กิน เช่น large ground finch เป็นนกฟินซ์ที่กินเมล็ดพืชเป็นอาหารจะมีจงอยปากที่กว้างและใหญ่ ส่วน cactus finch เป็นนกฟินช์ที่กินนำหวานจากต้นกระบองเพชรจะมีจงอยปากที่ยาวและโค้งลง เป็นต้น 

  

 52-2-7

 

อ้างอิง

http://www.gct.org/index.html (ข้อมูล+ภาพหมู่เกาะ+ภาพเต่ายักษ์) 

http://terrytao.wordpress.com/2007/07/19/darwins-finches-and-introgressive-hybridisation/ (ภาพนกฟินช์) 

http://www.the-lizard-lounge.com/content/gallery/lizard-pictures/marine-iguana-01.asp (ภาพ Iguana)

 

 

 29,204 total views,  1 views today