หมู่เลือดโอบอมเบย์

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2551

52-5-1 

โดย…นางสาวอรลา ชูลกลุ

หมู่เลือดโอบอมเบย์มีอะไรที่แตกต่างจากหมู่เลือดโอ  ????  
         หมู่เลือดตามระบบ ABO จำแนกได้เป็น 4 หมู่ ตามชนิดของแอนติเจนที่พบบนเยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง  และในส่วนของพลาสมาพบว่ามีแอนติบอดีที่จำเพาะต่อหมู่เลือดอยู่ 2 ชนิด คือ แอนติบอดี A และแอนติบอดี B  คนที่มีเลือดต่างหมู่กันจะมีแอนติเจนและแอนติบอดีแตกต่างกัน 
         แอนติเจน H เป็นแอนติเจนที่พบที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นสารต้นกำเนิดของแอนติเจน A และแอนติเจน B โดยที่เอนไซม์ transferase A จะเปลี่ยนแอนติเจน H ให้เป็นแอนติเจน A และเอนไซม์ transferase B จะเปลี่ยนแอนติเจน H ให้เป็นแอนติเจน B ดังนั้นที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงของ  หมู่เลือด A จะพบแอนติเจน A และแอนติเจน H ส่วนที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงของหมู่เลือด B จะพบแอนติเจน B และแอนติเจน H และที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงของหมู่เลือด AB จะมีทั้งแอนติเจน A แอนติเจน B และแอนติเจน H และที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงของหมู่เลือด O จะมีแต่แอนติเจน H เพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนเป็นแอนติเจน A หรือแอนติเจน B ได้ เนื่องจากไม่มีเอนไซม์ transferase A หรือ เอนไซม์ transferase B  
ส่วนของแอนติเจน H จะถูกควบคุมโดย gene H และ gene h 
โดยที่ HH และ Hh genotype จะกำหนดให้แสดงแอนติเจน H ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง 
         hh genotype จะกำหนดให้ไม่แสดงแอนติเจน H ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง  
           สำหรับหมู่เลือดโอบอมเบย์เป็นหมู่เลือดที่พบครั้งแรกในคนที่อาศัยอยู่ที่บอมเบย์  ดังนั้นจึงตั้งชื่อหมู่เลือดนี้ตามสถานที่ที่พบ  ครั้งแรก  ซึ่งหมู่เลือดโอบอมเบย์จะมี genotype เป็น hh ดังนั้นจึงพบว่าไม่แสดงแอนติเจน H ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของเม็ดเลือดแดง สามารถสรุปลักษณะของหมู่เลือดต่างๆ ดังตารางดังนี้

 

 หมู่เลือด

 แอนติเจนที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดง

 แอนติบอดีในพลาสมา

 A

 และ H

 B

 B

 และ H

 A

 AB

 และ และ H

 ไม่มี

 O

 แสดงแอนติเจน (ที่ไม่สร้างแอนติเจน และแอนติเจน B)

 และ B

 O-  bombay

 ไม่แสดงแอนติเจน H

 และ B

การให้เลือด 
            ผู้ให้และผู้รับควรมีเลือดหมู่เดียวกันจึงจะปลอดภัยที่สุด นั่นคือ เลือดของผู้ให้ต้องไม่มีแอนติเจนตรงกับแอนติบอดีของผู้รับ เพราะถ้าเลือดของผู้ให้มีแอนติเจนตรงกับแอนติบอดีของผู้รับจะทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงของผู้รับจับตัวกันเป็นกลุ่มตกตะกอนทำให้  เกิดอันตรายแก่ผู้รับ ดังนั้นผู้ให้ที่มีหมู่เลือด O จะสามารถให้เลือดกับผู้รับที่มีหมู่เลือด A หมู่เลือด B หมู่เลือด AB และหมู่เลือด O ได้ เรียกว่าเป็น  "universal donors"   สำหรับผู้รับที่มีหมู่เลือด  AB สามารถรับเลือดจากผู้ให้ที่มีหมู่เลือด  A หมู่เลือด B หมู่เลือด AB และหมู่เลือด  O ได้  เรียกว่าเป็น "universal receivers"  
            สำหรับหมู่เลือด O-bombay พบว่าในประเทศอินเดีย ประชากรจำนวน 10,000 คน จะพบคนที่มีหมู่เลือด O-bombay เพียง 1 คน   ผู้ให้ที่มีหมู่เลือด O-bombay สามารถให้เลือดกับผู้รับที่มีหมู่เลือด A หมู่เลือด B หมู่เลือด AB และหมู่เลือด O ได้ซึ่งการให้เลือดไม่แตกต่างจากผู้ให้ที่มีหมู่เลือด O แต่ในกรณีที่ผู้รับมีหมู่เลือด O-bombay สามารถรับเลือดจากผู้ให้ที่มีหมู่เลือด O-bombay เท่านั้น ไม่สามารถรับเลือดได้จากผู้ให้ที่มีหมู่ O เนื่องจากว่าที่เยื่อหุ้มเซลล์เม็ดเลือดแดงไม่แสดงแอนติเจน H 
            จากการทดสอบเมื่อนำเซลล์เม็ดเลือดแดงของคนที่มีหมู่เลือด O-bombay มาทำปฏิกิริยากับแอนติบอดี A หรือ แอนติบอดี B จะไม่เกิดการจับตัวกันเป็นกลุ่มตกตะกอน ซึ่งผลการทดสอบไม่แตกต่างจากคนที่มีหมู่เลือด O ดังนั้นอาจสรุปว่าคนคนนั้นมีหมู่เลือด O แต่ในความเป็นจริงแล้วมีหมู่เลือด O-bombay ในกรณีนี้จะเป็นอันตรายมากถ้าคนที่มีหมู่เลือด  O-bombay ได้รับเลือดจากผู้ให้ที่มีหมู่เลือด O

52-5-2 

ที่มาของภาพ : http://www.sep.alquds.edu/biology/scripts/Biology_english/part_3_6_files/image002.jpg

เอกสารอ้างอิง  
1. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2550) หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติมชีววิทยา เล่ม 2 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 5. 113 หน้า

2. The Time of India (2006) What is the Bombay blood group? (online). Available:http://timesofindia.indiatimes.com/articleshow/1419995.cms(Retrieved 26/02/09).

3. Wikipedia-the free encyclopedia (….) ABO blood group system.(online). Available:http://en.wikipedia.org/wiki/ABO_blood_group_system(Retrieved 26/02/09).

4. Nautiyal, S. (2004) Rare blood donor registry; need of the hour. (online). Available:http://www.expresshealthcaremgmt.com/%2020040915/coverstory01.shtml(Retrieved 26/02/09).

5. Balgir, RS (2007) Identification of a rare blood group,"Bombay (Oh) phenotype," in Bhuyan tribe of  Northwestern Orissa, India. Indian Journal of Human Genetics. 13(3), p109-113. (online). Available: http://www.ijhg.com/ article.asp?issn=0971-866;year=2007;volume=13;issue=3;spage=109;epage=113;aulast=Balgir (Retrieved 02/03/09).

 36,353 total views,  2 views today