กรดไหลย้อน

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2550

      กรดไหลย้อน  

        โดย… ธีรพัฒน์  เวชชประสิทธิ์  

       
 
            แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก แน่นท้อง ท้องอืด เรอเปรี้ยว เจ็บคอ เสียงแหบ ไอเรื้อรัง หรือบางครั้งอาจมี น้ำย่อยรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนมาทางปาก อาการเหล่านี้อาจเป็นตัวบ่งบอกถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น บริเวณกระเพาะอาหารและหลอดอาหาร ที่เรียกว่า โรคกรดไหลย้อน (gastro esophageal reflux disease : GERD)

50-8-1

            ภาวะของโรคกรดไหลย้อน เกิดขึ้นเนื่องจาก น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมายังบริเวณ หลอดอาหาร ซึ่งน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารมีสภาพความเป็นกรดสูง เพราะประกอบด้วยกรดไฮโดรคลอริกซึ่ง ทำหน้าที่กำจัดจุลินทรีย์ที่ผ่านเข้ามาพร้อมกับอาหาร รวมทั้งเอนไซม์เพปซินซึ่งทำหน้าที่ย่อยสารชีวโมเลกุล ประเภทโปรตีน เมื่อน้ำย่อยไหลย้อนกลับเข้าที่หลอดอาหารกรดและเพปซินจะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อของ หลอดอาหารทำให้เกิดการระคายเคือง อักเสบหรือกลายเป็นแผลในหลอดอาหารขึ้นได้ และถ้าน้ำย่อยสามารถ ไหลย้อนผ่านขึ้นมาสู่หลอดอาหารส่วนบนก็อาจทำให้เกิดความเสียหายแก่เนื้อเยื่อบริเวณลำคอ จนเป็นสาเหตุ ให้เกิดอาการเจ็บคอและไอเรื้อรัง 

             โดยปกติแล้วร่างกายจะมีกลไกป้องกันการเกิดภาวะกรดไหลย้อนของกรดจากกระเพาะอาหาร เช่น กลไกการบีบตัวของหลอดอาหาร ลักษณะทางกายภาพของหลอดอาหาร ซึ่งมีเยื่อบุผิวป้องกันไม่ให้หลอดอาหาร ถูกทำลายด้วยกรด และมีอวัยวะที่ทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันของเหลวจากกระเพาะอาหารไม่ให้ไหลย้อน กลับมานั่นคือ กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหาร ซึ่งที่อยู่ 2 ที่ด้วยกัน คือ กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนบนของ หลอดอาหาร และกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนล่างของหลอดอาหารที่ติดกับกระเพาะอาหาร  ซึ่งเชื่อกันว่าการ คลายตัวอย่างผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหาร โดยเฉพาะส่วนที่ติดอยู่กับกระเพาะอาหารนี่เอง ที่น่าจะเป็นสาเหตุหลักของอาการกรดไหลย้อนกลับ 
 
   
             อย่างไรก็ตามการไหลย้อนกลับของกรดนั้นอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้อีกเช่นกัน เช่น ความดัน ภายในหลอดอาหารต่ำกว่าปกติ ความดันในช่องท้องสูงกว่าปกติ บางส่วนของกระเพาะอาหารเลื่อนเข้าไปอยู่ ภายในหลอดอาหาร เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด หรืออาจเกี่ยวกับพันธุกรรมได้  

การรักษาให้หายจากอาการกรดไหลย้อนกลับ ทำได้ด้วยวิธีการต่าง ๆ คือ 

      1. การปรับเปลี่ยนนิสัยที่ทำอยู่ในชีวิตประจำวัน หรือการดูแลสุขภาพของร่างกายด้วยตนเอง เช่น รับประทานอาหารแค่พอดีอิ่ม ไม่มากเกินไป ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนจนเกินไปและหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้า ที่รัดแน่น เพราะความอ้วนและการสวมเสื้อผ้ารัดๆ เป็นสาเหตุให้ความดันมนช่องท้องสูงกว่าปกติ หลีกเลี่ยง สาเหตุของการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น จากการสูบบุหรี่หรือความเครียด ไม่ควรนอนยกของหนัก ก้มตัวเก็บของหรือออกกำลังกายหลังจากรับประทานอาหารทันที นอกจากนี้เวลานอนอาจปรับหัวเตียงสูงขึ้น เล็กน้อยประมาณ 20-30 เซนติเมตร เพื่อลดความดันภายในช่องท้อง 
 

 50-8-2

  
       2. การรับประทานยาและการผ่าตัด ในรายที่อาการมากอาจต้องใช้ยาเพื่อลดกรดในกระเพาะอาหาร โดยต้องได้รับการปรึกษาจากแพทย์ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เนื่องจากตัวยาบางชนิดอาจทำให้ปริมาณ กรดในกระเพาอาหารเพิ่มมากขึ้นได้ ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากต้แงได้รับการผ่าตัด 
 

 50-8-3

       โรคกรดไหลย้อนอาจดูเหมือนเป็นโรคที่ไม่อันตราย แต่ถ้าเกิดการอักเสบที่อวัยวะในระบบทางเดินอาหาร จนเรื้อรัง อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งในหลอดอาหารตามมาได้ 

 4,811 total views,  2 views today