ภาวะโลกร้อน (Global warming)

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2550

 

50-31

                                                                                                                                                      นางสาวยุวศรี  ต่ายคำ        
 

  

          ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกส่วนใหญ่กล่าวว่าโลกกำลังร้อนขึ้นโดยอ้างอิงจากปรากฏการณ์ ภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆที่เกิดบ่อยครั้งและทวีความรุนแรงมากขึ้นเป็นต้นว่าเกิดพายุบ่อยครั้งเกิด ความ แห้งแล้งและน้ำท่วมรุนแรงผิดปกติ น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงจน ทำให้หลายประเทศมีแนวโน้มว่าจะจมอยู่ใต้น้ำเช่น หมู่เกาะมัลดีฟ อกจากนี้ภาวะโลกร้อน ยังส่งผล ต่อการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลและการไหลเวียน ของกระแสน้ำในทะเลก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนโลกนี้ 

  

          สาเหตุที่ทำให้โลกร้อนขึ้นนั้นเกิดจากชั้นบรรยากาศของโลกมีแก๊ส ต่างๆสะสมเพิ่มมากขึ้นโดย เฉพาะแก๊สเรือนกระจก เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ไนตรัส ออกไซด์มีปริมาณเพิ่มขึ้น  ซึ่งแก๊ส เหล่านี้เปรียบเสมือนหลังคากระจกของโลก มีหน้าที่ป้องกันไม่ให้ความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่ส่องลงมา ยังพื้นโลกสะท้อนกลับออกไปได้หมดจึงทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกค่อนข้างสูงขึ้น นอกจากนั้นสาร คลอโรฟลูออโรคาร์บอน (สาร CFCs) ก็มีส่วนทำลายชั้น โอโซนซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศชั้นบนของโลก เมื่อชั้นโอโซนถูกทำลาย รังสีอัลตราไวโอเลตจะส่องผ่านมายังผิวโลกได้มากขึ้น ก่อให้เกิดอันตรายต่อ มนุษย์เช่น เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคมะเร็งผิวหนัง 

         สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลของโลกเพิ่มสูงขึ้น  ซึ่งอาจทำให้เกิด น้ำท่วมเฉียบพลัน  ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศ  เนื่องจากอุณหภูมิและการ รวมตัวของไอน้ำในอากาศเปลี่ยนไปทำให้เขตแดนระหว่างทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ เปลี่ยนแปลงเป็นสภาพ ภูมิอากาศใหม่ ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถปรับตัวได้สูญพันธุ์ไปในที่สุด ทะเลทรายจะมีความ แห้งแล้งมากขึ้น  อุณหภูมิที่สูงส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านผลกระทบต่อมนุษย์ พบว่าผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงจะทำให้บางภูมิภาคของโลกประสบภาวะขาดแคลนอาหารจนก่อ ให้เกิดโรคขาดสารอาหาร นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศยังมีผลต่อความคงทนของ เกสรสปอร์และสารมลพิษบางชนิดซึ่งอาจทำให้เกิดโรคหืด  หอบหรืออาการภูมิแพ้ได้

  50-3-2

          สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยได้ประเมินถึงผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อประเทศไทยว่ามีความ เป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะขาดแคลนน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เกิดอุทกภัยรุนแรงขึ้นใน พื้นที่ราบลุ่ม กรุงเทพมหานครจะเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำล้นตลิ่งและอุทกภัย แนวชาดหาดจากจังหวัดเพชรบุรีจนถึงสงขลาซึ่งมีลักษณะคับแคบจะหายไป และชายหาดจะถูกร่นเข้า มาถึงพื้นที่ราบริมทะเล พื้นที่ภาคใต้จะมีฝนตกชุกและเกิดอุทกภัยบ่อยครั้ง  ส่วนภาคตะวันออกเฉียง เหนือจะเผชิญกับภัยแล้ง นอกจากนั้นยังอาจเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวขึ้นทั้งในอ่าวไทยและ ทะเลอันดามัน แต่ผลกระทบที่สร้างความหวั่นวิตกให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก เห็นจะเป็นผล กระทบด้านการเกษตรโดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าวซึ่งนับว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่จำเป็นต้องอาศัย ปริมาณน้ำฝนและแสงแดดที่แน่นอน 

          ข้อถกเถียงเกี่ยวกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นคงยังไม่สามารถยุติได้ในอีก 10 ข้าง หน้าแน่นอน ดังนั้นเราควรหาวิธีป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้น  ซึ่งเรามีทางเลือกมากมายในการแก้ไข ปัญหาแก๊สเรือนกระจกและมีมาตรการในการช่วยลดอันตรายที่เกิดจากภาวะโลกร้อนได้ ทั้งนี้การแก้ไข ปัญหาดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย  ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชนหรือแม้แต่จากบุคคลทั่วไป โดยมาตรการทีสามารถช่วยแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนได้มีดังนี้ 
 

  1. ลดปริมาณ การปล่อยแก๊สเรือนกระจกต่าง ๆ โดยเฉพาะแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์สามารถ ทำได้โดยลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลให้ได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในภาค อุตสาหกรรมการขนส่งและการผลิตกระแสไฟฟ้า
  2. หยุดการตัดไม้ทำลายป่าและปลูกป่าทดแทน 
  3. การอนุรักษ์พลังงานซึ่งสามารถทำได้โดย 
         3.1 ในอาคารใหญ่ ศักยภาพในการประหยัดพลังงานมีมาก การกั้นที่ทำงานด้วยกระจกทำให้ สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าในการเปิดเคื่องทำความเย็น  ดังนั้นการออกแบบอาคารให้มีระบบถ่ายเทอากาศที่ เหมาะสมจะช่วยประหยัดพลังงานได้ 
         3.2 การเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าจากหลอดไส้ให้เป็นหลอดฟลูออเรสเซนต์จะช่วยประหยัดพลังงาน และลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์  
         3.3 ลดการใช้รถยนต์ที่ไร้ประสิทธิภาพจะช่วยลดการปล่อยแก๊สคาร์บอนไดออกไซต์    
       

     
  4. การเลิกใช้สารฟลูออโรคาร์บอน (สาร CFC) หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากโฟม หรืออาจนำวัสดุที่ ทำจากโ ฟมไปดัดแปลงทำชิ้นงานอื่น ๆ แทนที่จะนำไปเผาทำลาย ซึ่งจะก่อให้เกิดมลพิษตามมา เช่น นำโฟมไปทำการอัดและนำมาทำเป็นผนังบุห้อง  นอกจากนั้นเราควรตรวจสอบสภาพของเครื่องปรับ อากาศหรือเครื่องทำความเย็นอยู่เสมอ หากเกิดการชำรุดหรือรอยรั่วควรรีบซ่อมแซมทันที 

     

    50-3-3
  5. ลดปริมาณแก็สมีเทนและไนตรัสออกไซต์ แก๊สมีเทนส่วนใหญ่เกิดจากการย่อยสลายอินทรียวัตถุ ในที่ที่ไม่มีอากาศ โดยเฉพาะในนาข้าวที่มีน้ำท่วมขัง ดังนั้นจึงควรเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวให้มีระยะ น้ำท่วมขังสั้นลงและลดปริมาณแก๊สมีเทนในการทำปศุสัตว์ โดยการปรับปรุงพันธุ์สัตว์และปรับปรุงวิธีการ ให้อาหารสัตว์ เช่น เลือกใช้ส่วนผสมในอาหารสัตว์ในอัตราส่วนที่พอเหมาะ เป็นต้น นอกจากนั้น แก๊สไนตรัสออกไซต์ยังเกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีที่มีธาตถไนโตรเจนมากเกินไป และเกิดจากการเผาป่า ดังนั้นการลดการใช้ปุ๋ยเคมีและหลีกเลี่ยงการเผาป่าจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ 
  6. การนำเอาระบบพลังงานหมุนเวียนมาใช้ ซึ่งการใช้พลังงานหมุนเวียนส่วนใหฐ่จะไม่ก่อให้เกิด แก๊สคาร์บอนไดออกได ดังนั้นการขยายแหล่งพลังงานหมุนเวียนจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมในการ แก้ปัญหาโลกร้อน เช่น การใช้ประโยชน์จากเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจะช่วยลดการปล่อยแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ได้ การใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ทดแทนพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล การใช้พลังงาน จากกระแสลมโดยใช้กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าหรือการใช้แก๊สมีเทนที่เกิดจากขยะในเมืองใหญ่มาผลิต กระแสไฟฟ้าหรือผลิตความร้อนแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

  

เอกสารอ้างอิง 

โลกสีเขียว. ภาวะโลกร้อน. กรุงเทพฯ : ฉบับที่ 5, 2545. 
วิทูรย์  ปัญญากุล. โลกร้อน (บทเรียนจากอนาคต). กรุงเทพฯ : สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา, 2538. 
เจตน์  เจริญโท. Turn up the heat (โลกร้อน). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บิ๊คบุ๊ค, 2534. 
John  Houghton.1997. Global warmimh (the complete briefing). second edition : Cambridge University         press. 
Global warming – Wikipedia The free Encyclopedia (Online) Available : www.en.wikipedia.org         (Retrieved 12/12/06) 
 

 

 12,508 total views,  3 views today