นักวิทย์ชาวอังกฤษ พบ Amphibian ยอมให้ลูกน้อยกินผิวหนัง เพื่อการเจริญเติบโต

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2549

49-7-1

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ประเทศอังกฤษ

 49-7-2                 เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ในประเทศอังกฤษ – http://www.nhm.ac.uk/ ได้รายงานการค้นพบใหม่ โดยตั้งชื่อไว้น่ารักน่าชังว่า “คุณแม่แสนอร่อย – เมนูสำหรับลูกน้อย” (‘Yummy mummy’ on the menu for young amphibians) การตั้งชื่อแบบนี้ทำให้คนอ่านรู้สึกสนุกและไม่เครียดไปกับเนื้อหาวิทยา ศาสตร์ (ที่ดูยาก น่ากลัว น่าเบื่อ ไม่น่าสนใจสำหรับคนหลายคน)

              รายงานการค้นพบในครั้งนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสาร Nature เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากสำหรับเรื่องพฤติกรรมการดูแลลูกน้อย เมื่อนักวิทยาศาสตร์ 3 คน คือ Alexander Kupfer, Hendrik Muller และ Mark Wilkinson ซึ่งทำงานร่วมกับนักวิจัยในบราซิล เยอรมันและสหรัฐอเมริกา ได้รายงานการค้นพบพฤติกรรมที่มนุษย์ยังไม่เคยเห็นมาก่อน ของลูกของสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ (Amphibian) …

                    ในกลุ่ม ซีซิเลียน (Caecilion) – คือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่มีลักษณะคล้ายงู (ที่เราๆ ท่านๆ เรียกกันว่า งูดิน หรือ เขียดงู ครับ – ข้อเน้นว่า ไม่ใช่งู …เพียงเพราะมันแค่เลื้อยๆ มา ไม่มีขา เราไม่รู้ ก็เรียกงู แล้วก็หลบก่อนล่ะ) มีความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการที่เกี่ยวข้องและใกล้เคียงกับสัตว์ในกลุ่มกบ และตัวนิวท์ (frogs and newts) ซีซิเลียนเกือบทั้งหมดจะอยู่ในรูหรือโพรงใต้ดิน และนี่เองทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถเห็นพฤติกรรมต่างๆ อีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นใต้ดินได้

                    พวกเขาสังเกตพฤติกรรมของงูดิน หรือ เขียดงู ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boulengerula taitanus   ซึ่งมีถิ่นอาศัยในประเทศ Kenya แล้วก็พบว่าลูกของงูดิน หรือ เขียดงู ชนิดนี้จะค่อยๆ คลานขึ้นมาบนตัวของแม่และกัดกินผิดหนังที่มีลักษณะพิเศษของแม่

ลักษณะพิเศษของผิวหนังคุณแม่

                    แม่เจ้า B. taitanus  จะเปลี่ยนผิวหนังชั้นนอกให้มีความหนาเป็นพิเศษ และอุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของลูกน้อย แล้วลูกน้อยก็จะเอาฟันที่มีลักษณะพิเศษเข้ามาขูด มาลอกเอาผิวหนังของแม่ไปกิน เพื่อการเจริญเติบโต และเมื่อเติบโตเต็มที่จะมีขนาดความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร
 

 49-7-3


                    วิธี การเลี้ยงดูลูกน้อยแบบนี้ถูกเรียกว่า “Dermatotropy” และนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่เคยพบเคยเห็นในสัตว์ใดๆ มาก่อนเลย สิ่งนี้เอง… ที่ทำให้เราต้องตระหนักไว้เลยว่ามันยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่รู้ เกี่ยวกับเรื่องความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต (Diversity of the Animals)

การค้นพบครั้งนี้ให้ประโยชน์อะไร

                    จาก การค้นพบครั้งนี้จะนำไปสู่การเชื่อมโยงข้อมูลของการศึกษาวิวัฒนาการการดูแล ลูกของสิ่งมีชีวิตอีกหลายๆ ชนิด ที่แน่ๆ การค้นพบครั้งนี้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดูแลลูกของซีซิเลียนที่ออก ลูกเป็นไข่ และซีซิเลียนที่ออกลูกเป็นตัว

                    ซี ซิเลียนที่ออกลูกเป็นตัว ตัวอ่อนที่อยู่ในตัวแม่จะกินอาหารโดยการกินเยื่อบุผิวท่อนำไข่ที่มีลักษณะ คล้ายมดลูก (womb-like oviduct) โดยใช้ฟันที่มีลักษณะเหมือนในตัวอ่อนของ B. taitanus ลักษณะพฤติกรรมแบบนี้อาจจะมีการพัฒนาไปจากพฤติกรรมการกินเยื่อบุผิวตัวแม่ ของซีซิเลียนกลุ่มที่ออกลูกเป็นไข่ก็ได้

                    Wilkinson ได้อธิบายเพิ่มอีกว่า นักชีววิทยาได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปเปรียบเทียบอย่างไร ระหว่างกลุ่มสัตว์เพื่อที่จะนำไปทำนายดูการเกิดวิวัฒนาการ … “การ ศึกษาสิ่งมีชีวิตกลุ่มที่ผู้คนให้ความสำคัญน้อยเช่น ซีซิเลียน เป็นวิธีการที่ดีที่สุดอีกวิธีการหนึ่งที่จะนำมาใช้ในการทดสอบทฤษฎี วิวัฒนาการ และแน่นอน สิ่งที่เราพบนี่ก็คือสิ่งที่เราไม่คาดคิดว่ามันจะเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการ”

                    “คุณ สามารถมองเห็นภาพ หรือจินตนาการได้พร้อมๆ กันไปเลย ระหว่างการเลี้ยงลูกโดยให้กินผิวหนังแม่ของซีซิเลียน กับการเลี้ยงลูกด้วยน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ดังนั้น การศึกษาว่าพฤติกรรมการเลี้ยงลูกแบบนี้มันเกิดมาได้อย่างไร จะทำให้เราเข้าใจและเห็นภาพได้ชัดเลยว่าพฤติกรรมการเลี้ยงลูกในสัตว์เลี้ยง ลูกด้วยนมมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงมาอย่างไรจากอดีตจนถึงปัจจุบัน”

                    โครงการ วิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก The Natural Environmental Research Council และ an EU Marie Courie Fellowship. และที่สำคัญคุณรู้ไหมว่ามันเกี่ยวข้องกับข้อมูลการค้นพบของ H.W. Parker นักสัตววิทยาที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ในประเทศอังกฤษ ที่ได้รายงานการค้นพบฟันแบบพิเศษในตัวอ่อนของซีซิเลียนที่อาศัยในตัวแม่ โดยรายงานการค้นพบไว้เมื่อ 50 ปีที่ผ่านมาแล้ว …….โอ้ กว่า 50 ปี เราถึงเข้าใจว่ามันมีฟันเอาไว้ทำไม …..ถ้านักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ไม่ได้สังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน ปริศนาเรื่องฟันเจ้าซีซิเลียน ก็คงไม่ถูกเปิดเผยเป็นแน่

 

แหล่งที่มาของข้อมูล

1. Natural History Museum, UK. ‘Yummy mummy’ on the menu for young amphibians.
        (Online). Available: http://www.nhm.ac.uk/about-us/news/2006/apr/news_8032.html
        (Retrieved 20/06/06). 

 1,145 total views,  1 views today