ข้อมูลพื้นฐานของไวรัส

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2547

47-1-1

สุทธิพงษ์ พงษ์วร

                    และอีกเช่นเคย ครั้งนี้ก็เป็นวิทยาศาสตร์จากข่าวอีกเหมือนกัน และเพื่อไม่ให้ตกข่าว "ไข้หวัดนก" ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วมีรายละเอียดมากกว่านี้ แต่ขอลงรายละเอียดเท่านี้ไปก่อน ส่วนของที่จะใช้แบบเต็มรูปแบบจะนำมาเผยแพร่ภายหลัง ในเรื่องของกิจกรรมการนำข่าววิทยาศาสตร์ไปใช้ในชั้นเรียนได้อย่างไร วิเคราะห์กันอย่างไร สร้างเป็นกิจกรรมให้ได้คิด ได้นำเอาความรู้พื้นฐานที่เรียนมาใช้กันได้อย่างไร Bio-Article ครั้งนี้เลยขอนำเพียงแค่ข้อมูลที่ได้แปลมาจากเว็บไซต์นำมาเผยแพร่ไปก่อน ก็คิดว่าน่าจะใช้ประโยชน์ได้บ้างเช่นกันไม่มากก็น้อย รวมทั้งลิงค์เว็บไซต์ที่จะอ่านเพิ่มเติม ว่าแล้วก็เริ่มแปลเลยละกัน สำหรับท่านที่สนใจจะอ่านต้นฉบับเต็มๆ ของภาษาอังกฤษ ก็ตามไปลิงค์ข้างล่างได้เลยครับ 
 

47-1-2

              ไข้หวัดนกสามารถเกิดขึ้นได้ 2 รูปแบบ คือ แบบร้ายแรง ซึ่งในภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Highly Pathogenic Avian Influenza (HPAI) หรือ fowl plague และอีกแบบคือแบบที่ไม่ร้ายแรง – Low Pathogenic Avian Influenza (LPAI) และการเกิดโรคทั้ง 2 รูปแบบนั้นจะมีสาเหตุเกิดมาจากเชื้อไวรัสไข้หวัดชนิด A (Influenza virus type A) 

              การแพร่ระบาดของ HPAI ซึ่งเป็นโรคในสัตว์ปีกนั้น จะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วในกลุ่มของสัตว์ปีกและอาจจะพบมีอาการหนักถึงขั้นเสียชีวิตบ่อยครั้งทีเดียว ในทางตรงกันข้าม LPAI โดยทั่วไปแล้ว จะไม่ทำให้เกิดโรคที่มีอาการร้ายแรงอะไร และพบได้โดยทั่วไปในสัตว์ปีกเช่นกัน 

การจัดกลุ่มไวรัส และองค์ประกอบทางพันธุกรรม 

Family: Orthomyxoviridae 

Genus: Influenza

  • อนุภาคไวรัสจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 80-120 นาโนเมตร
  • หรืออาจจะมีลักษณะเป็นเส้นก็ได้ 
  • มีชิ้นส่วนของ RNA 8 ส่วนที่แตกต่างกัน (เป็น RNA ที่ย้อมไม่ติดสี – negative strand RNA) ซึ่งส่วนของ RNA นี้จะนำมาใช้สำหรับแทรกเข้าไปในเซลล์ที่มีการติดเชื้อไวรัส และถ้ามีการติดเชื้อไวรัสมากกว่า 1 ชนิด ก็อาจจะทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของ RNA ที่มีอยู่ เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ได้ (เกิดการกลายพันธุ์ หรือเกิด Mutation) 


Types: A, B, และ C

  • การแยกชนิดของไวรัสจะทำโดยใช้เกณฑ์ของการเกิดปฏิกิริยาระหว่าง Antigen กับ Antibody ในการตรวจแยกชนิดของไวรัส โดยแอนติเจนที่ว่าก็คือโปรตีน M ที่อยู่บนเปลือกหุ้มของไวรัสและนิวคลีโอโปรตีนที่อยู่ในเปลือกหุ้มตัวไวรัส
  • ไวรัสไข้หวัด ชนิด A จะทำให้เกิดโรคได้ในคน หมู สัตว์ในกลุ่มม้า นก และไข้หวัดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่ในทะเลซึ่งจะเป็นชนิดที่เป็นสายพันธุ์ที่ใกล้เคียงกับที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ 
  • ไวรัสไข้หวัด ชนิด B ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์เท่านั้น 
  • ไวรัสไข้หวัด ชนิด C เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ ทั้งในคนและหมู และพบไม่บ่อยนัก 
  • สำหรับ HPAI และ LPAI ที่กล่าวไว้ในตอนแรกเกิดจาก ไวรัสไข้หวัด ชนิด A 


เปลือกหุ้มตัวไวรัสเป็นสารประเภทไกลโคโปรตีน (Glycoproteins) ซึ่งจะมี hemagglutinin (HA) และ neuraminidase (NA) อยู่และนำมาใช้เป็นแอนติเจนสำหรับการตรวจหาชนิดย่อยของไวรัสชนิด A, B, และ C

  •  สำหรับไข้หวัด ชนิด A จะมี HA antigens อยู่มากถึง 15 ชนิด (คือ H1 ถึง H15) และมี NA antigens อยู่ 9 ชนิด (คือ N1 ถึง N9)
  • ไวรัสไข้หวัด ชนิด A ที่มีที่มี hemagglutinin ชนิด H5 และ H7 เท่านั้นที่เป็นสาเหตุทำให้เกิด HPAI 

 

เอกสารอ้างอิง 
1. แปลจาก Avian Influenza: Agricultural and Wildlife Considerations ของ Center for Infectious 
    Disease Research & Policy Academic Health Center — University of Minnesota 
    อ่านเอกสารทั้งหมดได้ที่ 
     http://www.cidrap.umn.edu/cidrap/content/biosecurity/ag-biosec/anim-disease/avianflu.html#_References_1 

เว็บไซต์สำหรับศึกษาเพิ่มเติม (search by spong@) 

1. http://phoubon.in.th/bird_flu.htm 
    สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 23 มกราคม 2547 
2. http://www.redcross.or.th/pr/pr_news.php4?db=3&naid=495 
    10 คำถามเกี่ยวกับไข้หวัดนก สภากาชาดไทย 
3. http://www.merckvetmanual.com/mvm/index.jsp?cfile=htm/bc/206600.htm&word=Avian%2cInfluenza The Merck Veterinary Manual – Influenza: Introduction (Full Text) 
4. http://www.mdcu47.net/Question.asp?GID=123 
    เว็บบอร์ดที่นำข่าวจากหนังสือพิมพ์มาลงไว้ 
5. http://wwwrhjh.lkwash.wednet.edu/homehelp/diseases/main.html 
    Welcome to the Diseases Web Page! – มีภาพประกอบสวยๆ นำมาใช้ในชั้นเรียนได้ 

 2,493 total views,  2 views today