สารในผักบางชนิดช่วยต้านอาการหลงลืมอันเนื่องมาจากความชรา (พ.ย.53)

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2554

 54-2-1

                                                                                                                                             โดย… นายสุทธิพงษ์  พงษ์วร

ข่าวจากเว็บไซต์ ScienceDaily วันที่ 18 ตุลาคม 2553 ได้รายงานผลการวิจัยล่าสุดว่า สารประกอบกลุ่ม ลูทอีโอลิน (Luteolin) ในพืชสามารถลดความเสื่อมของสมองและชะลออาการหลงๆ ลืมๆ อันเนื่องมาจากความชราได้ โดยจะมีผลในการยับยั้งการปล่อยสารที่มาทำลายเซลล์สมองซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ความจำลดลง

ลูทอีโอลินพบได้ในพืชหลายชนิด เช่น แครอท (carrot) พริกหวาน (pepper) คึ่นช่ายฝรั่ง (celery) นำมันมะกอก (olive oil) ใบสะระแหน่ (peppermint) โรสแมรี(rosemary) และ คาร์โมไมล์ (chamomile) และจากการทดสอบลูทอีโอลินในหนูทดลอง เพื่อดูลักษณะของ เซลล์ค้ำจุนระบบประสาท (neuroglial cell หรือ Glial cell) ชนิดที่เรียกว่าmicroglia cell ซึ่งพบทั้งในสมองและแนวไขสันหลัง พบว่าลูทอีโอลินสามารถช่วยลดอาการอักเสบของเซลล์ประสาทหรือลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเซลล์ประสาทได้ (สามารถอ่านเพื่อศึกษาเพิ่มเติม  และเข้าไปดูภาพประกอบเกี่ยวกับ neurons และ neuroglia cells ได้ในเว็บไซต์http://www.sci.uidaho.edu/med532/neurons_neuroglial_cells_module3.htm)

 

54-2-2 54-2-3 54-2-4

 

    54-2-5  54-2-6 54-2-7

                                      ภาพที่ 1 ผักบางชนิดที่มีสาร ลูทอีโอลิน (Luteolin)

 

Prof. Rodney Johnson จาก University of Illinois หัวหน้าทีมวิจัยในครั้งนี้ได้กล่าวว่า จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา ทำให้เราทราบว่า เมื่อเกิดการติดเชื้อของร่างกาย จะเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ส่งผลไปกระตุ้นให้ microglia cell สร้างสารเคมีขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า “cytokines” ซึ่งมีหลายชนิด และ  “cytokines” ก็จะถูกใช้เป็นสัญญาณที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสารเคมีต่างๆ ในสมอง โดย inflamentory cytokines (ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการอักเสบในสมอง) จะไปชักนำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น เกิดอาการง่วงซึม เบื่ออาหาร ทำให้ความสามารถในการจดจำลดลง เกิดอาการซึมเศร้า ซึ่งอาการทั้งหมดจะมีผลทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยตามมา

การเสื่อมสภาพหรือการเกิดอาการอักเสบของสมองเป็นสาเหตุที่นำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการจดจำที่จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น และจากการศึกษาวิจัยก่อนหน้านี้ พบว่าโดยปกติแล้วขณะที่ร่างกายเข้าสู่วัยชรา microglia cell จะกลายเป็นเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้และจะเริ่มสร้างสาร cytokines ที่ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ในสมองเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหลงลืมเมื่ออายุมากขึ้น รวมทั้งโรคประสาทหรือโรคสมองเสื่อม (neurodegenerative diseases)

Prof. Johnson ได้ใช้เวลาเกือบ 10 ปี ในการศึกษาเกี่ยวกับผลของสารอาหารและสารสกัดชนิดต่างๆ จากพืช ซึ่งรวมถึง ลูทอีโอลิน ด้วย และจากการศึกษาพบว่ามันส่งผลดีต่อร่างกายโดยช่วยลดอาการอักเสบ (anti-inflammatory) ต่างๆ ของร่างกายได้ และเมื่อศึกษาต่อมาก็พบว่าสารสกัดดังกล่าวยังช่วยเพิ่มความสามารถในการจดจำ โดยไปทำให้ microglia cell ในสมองลดการสร้าง inflamentory cytokines ขึ้นมา

นอกจากนี้ จากผลการศึกษาของนักวิจัยอีกหลายคนยังแสดงให้เห็นว่าเมื่อนำสารพิษที่สร้างจากแบคทีเรียมาทดสอบกับ microglia cell จะทำให้ microglia cell สร้างinflamentory cytokines ขึ้นมา และสารนี้ก็จะทำให้เซลล์ประสาทตาย แต่เมื่อนำสาร ลูทอีโอลิน มาทดสอบกับ microglia cell ก่อนที่ microglia cell จะโดนสารพิษจากแบคทีเรีย พบว่า microglia cell ยังมีชีวิตอยู่ต่อไปได้ ซึ่งการที่ microglia cell ยังสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้ เป็นเพราะ ลูทอีโอลิน จะไปยับยั้งการสร้างสารที่มีผลไปทำลายเซลล์ประสาทนั่นเอง แต่ถ้านำเอาสาร ลูทอีโอลิน ไปใช้กับเซลล์ประสาทอย่างเดียวก่อนทำการทดลอง เพื่อใช้เป็นชุดการทดลองควบคุม พบว่า ลูทอีโอลิน ไม่มีผลต่อการอยู่รอดของเซลล์ประสาทเลย

ต่อมาทีมวิจัยของ Prof. Johnson ได้ทดลองเพื่อดูผลของ ลูทอีโอลิน ที่มีต่อสมองและพฤติกรรมของหนูที่โตเต็มที่ซึ่งต่อไปจะเรียกว่าหนูกลุ่มอายุน้อย (อายุ 3-6 เดือน) และหนูกลุ่มที่อายุมาก (อายุ ปี) ทดลองโดยแบ่งหนูเป็น ชุดการทดลอง ทำการให้อาหารแบบปกติกับหนูทดลองทั้ง กลุ่ม และให้อาหารที่ผสม ลูทอีโอลิน ลงไปกับหนูทั้ง กลุ่ม เป็นเวลาทั้งหมด สัปดาห์ จากนั้นวัดความสามารถในการจำตำแหน่งของวัตถุหรือสิ่งที่อยู่รอบตัว (spatial memory) และตรวจวัดระดับของการอักเสบหรือถูกทำลายของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส(hippocampus) ซึ่งเป็นสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับความจำและความสามารถในการจดจำรับรู้เกี่ยวกับสิ่งที่อยู่รอบตัว (เพื่อการเอาตัวรอดหรือหลบภัยจากศัตรู) (ตารางที่ 1)

 

ตารางที่ แสดงการทดลองผลของ ลูทอีโอลิน ที่มีต่อสมองและพฤติกรรมของหนู

 

 

 หนูอายุ 3-6 เดือน

 หนูอายุ ปี

 อาหารชุดควบคุม

 มีระดับของโมเลกุลของสาร inflamentory cytokines ต่ำกว่าหนูอายุ ปี ที่กินอาหารชุดควบคุม

 มีระดับของโมเลกุลของสาร inflamentory cytokines สูง ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบในสมองส่วนฮิปโอแคมปัส ความสามารถในการจำลดลง เมื่อเทียบกับหนูอายุ 3-6 เดือนที่ให้กินอาหารชุดควบคุม

 อาหารที่ใส่  ลูทอีโอลิน

 มีระดับของโมเลกุลของสาร inflamentory cytokines ต่ำกว่าหนูอายุ 3-6 เดือน ที่กินอาหารชุดควบคุม

 มีความสามารถในการจำที่ดีกว่าหนูอายุ ปีที่กินอาหารชุดควบคุม และมีระดับของโมเลกุลของสาร  inflamentory cytokines ใกล้เคียงกับหนูอายุ 3-6 เดือน ที่กินอาหารชุดควบคุม

                                                                                                    

 

54-2-8

ภาพที่ 2 สมองส่วนฮิปโปแคมปัส ซึ่งเกี่ยวข้องกับความจำ คนที่เป็นโรคความจำเสื่อม (Alzheimer’s

            disease) สมองส่วนนี้จะแสดงลักษณะความผิดปกติในเรื่องของความจำให้เห็นออกมาก่อน

                เรียกอาการนี้ว่า Hippocampal disruption / Hippocampal dysfunction

                (Picture Ref. http://en.wikipedia.org/wiki/Hippocampus (Retrieved 21/10/2010))

 

            โดยทั่วไปแล้วหนูกลุ่มที่อายุมากจะมีระดับของโมเลกุลของสารที่ทำให้เกิดการอักเสบในสมองส่วนฮิปโอแคมปัสสูง และเมื่อทดสอบเกี่ยวกับความจำก็พบว่ามีความสามารถในการจำลดลง เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มอายุน้อย แต่หนูกลุ่มที่อายุมากและได้รับอาหารที่ผสม ลูทอีโอลิน กลับมีความสามารถในการจดจำได้เท่าๆ กับหนูกลุ่มอายุน้อย และระดับของสารinflamentory cytokines ในสมองที่พบก็พบน้อยพอๆ กับที่พบในหนูกลุ่มอายุน้อย นั่นแสดงให้เห็นว่า สารสกัด ลูทอีโอลิน ที่ผสมลงไปในอาหารสามารถลดการทำงานของ microglia cell โดยไปลดการสร้างสาร inflamentory cytokines ซึ่งมีผลในการทำลายเซลล์สมอง

            และเพื่อให้ง่ายต่อการเลือกพืชผักสดที่มีสาร ลูทอีโอลิน (Luteolin) มากๆ มารับประทานเพื่อช่วยชะลออาการหลงๆ ลืมๆ อันเนื่องมาจากความชรา ก็สามารถพิจารณาเลือกได้จากในตารางต่อไปนี้

 

ตารางที่ 2  ปริมาณของ ลูทอีโอลิน (Luteolin) ในพืชผักบางชนิด

 

 

 ลำดับที่

 ชนิดของพืช

 ปริมาณ ลูทอีโอลิน (Luteolin)

(mg/100g ของส่วนที่กินได้)

 1

 ผักชีฝรั่ง (fennel)

 0.10

 2

แครอท (carrot)

แครอท (carrot)**

 0.13

 3.75

 3

 ผักกาดหอม (lettuce)

 0.50

 4

 คึ่นช่ายฝรั่ง (celery)

 0.63

 5

 พริก (hot chili / pepper)

 3.87

 6

 บรอคโคลี (broccoli)**

 7.45

 7

 ใบสะระแหน่ (peppermint)

 11.33

 

 

 

ตรวจหาปริมาณลูทอีโอลิน ต่อน้ำหนักสดของพืช  โดยนำมาผ่านขั้นตอนการสกัดสารต่างๆ และนำไปตรวจวัดด้วยเครื่อง HPLC

** ตรวจหาปริมาณลูทอีโอลิน ต่อน้ำหนักแห้งของพืช  ทำให้แห้งที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส และนำมาผ่านขั้นตอนการสกัดสารต่างๆ เพื่อนำไปตรวจวัดด้วยเครื่อง HPLC

ตราบใดที่เรายังบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ก็จะช่วยชะลอความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเซลล์สมองได้ ทำให้ความสามารถในการจดจำสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่กับเราไปได้อีกนาน

แปลและเรียบเรียงจาก

Science News in Science Daily (2010) Compound in celery, peppers reduces age-related memory

               deficits. (online)Available: ttp://www.sciencedaily.com/releases/2010/10/101013122601.htm

(Retrieved 21/10/2010)

เอกสารอ้างอิง

Dangubon, P. (2007). Flavonoid content and free radical scavenging activity of herbs commonly used in Thai dishes. Mahidol University.

Jang, S., Kelley, K. W., & Johnson, R. W. (2008). Luteolin reduces IL-6 production in microglia by inhibiting JNK phosphorylation and activation of AP-1. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America, 105 (21), 7534-7539. (online) Available:http://www.pnas.org/content/105/21/7534.full.pdf+html (Retrieved 21/10/2010)

Miean, K. H., & Mohamed, S. (2001). Flavonoid (Myricetin, Quercetin, Kaempferol, Luteolin, and Apigenin) content of edible tropical plants. J. Agric. Food Chem., 49 (6), 3106-3112.

 

 

 

 3,805 total views,  1 views today