แหน (Duckweed)

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2553

            แหน (Duckweed)

วิลาส  รัตนานุกูล 

      แหน (Duckweed) เป็นพืชลอยน้ำขนาดเล็ก เจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ได้ดีในน้ำนิ่ง เช่น หนอง  บึง  หรือสระน้ำทั่วไป ที่มีธาตุอาหารและอินทรียวัตถุอุดมสมบูรณ์  ค่าความเป็นกรด-เบส (pH)  ของน้ำค่อนข้างเป็นกลาง  แหนที่พบในประเทศไทย (เต็ม  สมิตินันทน์, สำนักหอพรรณไม้) จัดอยู่ในวงศ์ Lemnaceae  มี  3 สกุล (ภาพที่ 1) ได้แก่

  1. สกุล Lemnaมี 3 ชนิด คือ

     

    – Lemna minor L.  แหนเล็ก (กลาง) 
    – Lemna perpusilla Torr.  กาแหน (เหนือ)  แหน (กลาง,เหนือ) มีชื่อสามัญเรียกว่า Lesser duckweed  
    – Lemna trisulca L.  จอกแหน (ใต้) 

  2. สกุล Spirodela มี 1 ชนิด คือ  Spirodela polyrrhiza (L.) Schleid. กาแหน (เหนือ) แหนแดง (กทม.,เหนือ)  แหนใหญ่ (กลาง)มีชื่อสามัญเรียกว่า Large duckweed.
  3. สกุล Wolffiaมี 1 ชนิด คือ Wolffia globosa (Roxb.) Hartog & Plas ไข่น้ำ (กทม.) ไข่แหน (ราชบุรี) ผำ (เหนือ) มีชื่อสามัญเรียกว่า  Water meal

53-1-1 

53-1-2 

53-1-3 

ก.แหนเล็ก 

ข. แหนใหญ่ 

ค. ไข่น้ำหรือผำ

 

ภาพที่ 1 (ที่มาภาพ : ดูจาก reference )

แหนเป็นพืชที่ไม่มีราก ลำต้น และใบที่แท้จริง   ใบมีรูปรีเป็นเกล็ดเล็กประมาณ 0.2 ซม. สีเขียวเป็นมันวาว  อยู่เดี่ยวๆ หรือเชื่อมติดกันเป็น กระจุก 2 – 4 ใบ  ใต้ ใบมีรากฝอยเล็กๆ ดอกออกเป็นช่อเกิดอยู่ในช่องตรงขอบใบและมีเยื่อบางล้อมรอบช่อดอกไว้ (ภาพที่ 2) แหนขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ แต่ส่วนใหญ่จะขยายพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อหรือแตกแผ่นใบใหม่ (ภาพที่ 3) ทำให้เจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว

53-1-4
 

ภาพที่ 2 (ที่มาภาพ : ดูจาก reference )
 

ลำดับที่ 1 ลำดับที่ 2 ลำดับที่ 3

53-1-5 

53-1-6 

53-1-7 

ลำดับที่ 4 ลำดับที่ 5 ลำดับที่ 6

53-1-8 

53-1-9 

53-1-10 

ลำดับที่ 7 ลำดับที่ 8 ลำดับที่ 9

53-1-11 

53-1-12 

53-1-13 


ภาพที่ 3 ลำดับการแตกหน่อของแหนเล็ก

Lemna minor L.  แหนเล็ก หรือเรียกโดยทั่วไปว่าแหนเป็ดเล็กจัดเป็นวัชพืชที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีโปรตีนประมาณ 20-40 % ใยประมาณ 4-6 % และยังเป็นพืชที่มีกรดไขมันอิสระอยู่อย่างสมบูรณ์  นิยม นำไปตากแห้งทำเป็นปุ๋ย เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์หรือผสมในอาหารของสัตว์ เช่น อาหารของเป็ด ห่าน ปลา ไก่ นกกระทา และสุกร เป็นต้น เนื่องจากแหนเป็ดเล็กเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ได้รวดเร็วจึงมีผู้ศึกษา ประสิทธิภาพในการใช้บำบัดน้ำเสีย เช่น การบำบัดน้ำเสียจากฟาร์มเป็ด พบว่า ในระยะเวลา 100 วัน สามารถดูดซับค่าปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด (TKN) ได้สูงสุดถึง 49.10% ดังนั้นจึงนิยมนำแหนเป็ดเล็กมาใช้เป็นอาหารโปรตีนราคาถูกสำหรับเลี้ยงเป็ดเทศ

นอก จากนี้มีการศึกษาประสิทธิภาพของในการดูดซับโลหะหนักจำพวกตะกั่วและแคดเมียม ของแหนเป็ดเล็กจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ พบว่า ที่ค่า pH 3.5 สามารถดูดซับตะกั่วได้สูงสุด 11.834 มิลลิกรัม/กรัมแหนเป็ด และมีจุดอิ่มตัวในการดูดซับที่ 20 นาที ส่วนแคดเมียมพบว่าที่ค่า pH 4 แหนเป็ดเล็กสามารถดูดซับได้สูงสุด 6.779 มิลลิกรัม/กรัมแหนเป็ด และมีจุดอิ่มตัวในการดูดซับที่ 3 นาที

เอกสารอ้างอิง
 


ภาพที่ 1 ที่มา : 

 ก. (Online).Available : http://keys.lucidcentral.org/keys/aquariumplants2/Aquarium_&_Pond_Plants_of_the_World/key/Aquarium_&_Pond_Plants/Media/Images/lemna_lge.jpg (Retrieved 30/09/09) 

 ข. (Online).Available : http://www.mobot.org/jwcross/duckweed/duckpix.htm (Retrieved 30/09/09) 

 ค. (Online).Available :http://keys.lucidcentral.org/keys/aquariumplants2/Aquarium_&_Pond_Plants_of_the_World/key/Aquarium_&_Pond_Plants/Media/Html/Fact_sheets/wolffia.html(Retrieved 30/09/09) (ภาพวาด) 

 (Online).Available : http://www.uwgb.edu/biodiversity/herbarium/wetland_plants/spipol01.htm(Retrieved 30/09/09) (ภาพถ่าย)

ภาพที่ 2 ที่มา : (Online).Available: http://waynesword.palomar.edu/images/lpsdl3b.jpg(Retrieved 30/09/09)

 52,909 total views,  3 views today