หม้อข้าวหม้อแกงลิง

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2551

หม้อข้าวหม้อแกงลิง

                                                                                                                                                   โดย .. สาวินีย์  หมู่โสภณ
 
             ถ้าถามถึงพืชกินแมลงที่พบในประเทศไทยมีอะไรบ้าง … พืชกินแมลงมีหลายชนิดแต่ที่พบและมีรายงานการพบในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันคือ 3 สกุล คือ Utricularia<สาหร่ายข้าวเหนียว>  Drosera<ดุสิตา> และ Nepenthes<หม้อข้าวหม้อแกงลิง >   
             หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นพืชวงศ์ Nephenthaceae  สกุล Nephenthes  พืชสกุลนี้มีอยู่หลากหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่มีการศึกษาและรวบรวมชื่อพรรณไม้ในประเทศไทย (Smitinand,1980) พบว่ามีพืชในวงศ์หม้อข้าวหม้อแกงลิงอยู่ 5 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ได้แก่ หม้อข้าวหม้อแกงลิง N. ampullaria Jack. น้ำเต้าฤาษี N. kampotiana Lec แขนงนายพราน N.mirabilis  Druce หรือ N. phyllamphora Willd. น้ำเต้าฤาษี N. smilesii Hemsl. และน้ำเต้าลม N. thorelii Lec.  
             หม้อข้าวหม้อแกงลิงส่วนใหญ่เจริญอยู่ในบริเวณที่มีนำท่วมขัง ซึ่งเป็นบริเวณที่ขาดธาตุไนโตรเจน ดังนั้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง จึงมีวิวัฒนาการหรือมีการปรับตัว โดยการเปลี่ยนแปลงของใบไปเป็นถุงดักแมลงหรือหม้อ (pitcher)  เพื่อเพิ่มปริมาณธาตุไนโตรเจนให้แก่ลำต้น 
             ลักษณะที่ใช้ในการจัดจำแนกหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากพืชอื่น ๆ คือ ลักษณะของใบที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ เป็นถุงดักแมลง(pitcher) ไม่มีกลีบดอกและมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ (superior ovary) (ก่องกานดา ชยามฤต, 2541)

51-4-1         51-4-2

ภาพที่ 1 แสดงลักษณะของดอกและผลของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

พืชสกุลนี้จะมีถุงดักแมลงอยู่ 2 รูปแบบ คือ 
             1. lower pitcher  มีรูปร่างกลมและมีโครงสร้างที่คล้ายกับปีกติดอยู่ด้านหน้าของถึงดักแมลง

51-4-3 

ภาพที่ 2 ลักษณะของถุงดักแมลงแบบ lower pitcher ของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

              2. upper pitcher มีรูปร่างทรงกระบอก

51-4-4 
ภาพที่ 3 ลักษณะของถุงดักแมลงแบบ upper pitcher ของหม้อข้าวหม้อแกงลิง

 
               จากที่กล่าวมาแล้วว่าใบของหม้อข้าวหม้อแกงลิงมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปทำหน้าที่พิเศษ  ซึ่งถุงดักแมลงหรือหม้อมีส่วนประกอบดังภาพที่ 4

51-4-5 51-4-6

ภาพที่ 4 ส่วนประกอบของถุงดักแมลง

                แต่เมื่อศึกษาโครงสร้างภายในของถุงดักแมลงของหม้อข้าวหม้อแกงลิง จะพบว่าภายในถุงดักแมลง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ด้วยกัน คือ 1.) waxy zone  เป็นส่วนบนของถุงดักแมลง ช่วยป้องกันไม่ให้แมลงหรือเหยื่อที่ตกไปในถุงดักแมลงหนีไปได้ 2.) digestive zone  เป็นส่วนที่อยู่ส่วนล่างของถุงดักแมลง ถัดจากส่วน waxy zone  ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อย (enzyme)  เพื่อย่อยเหยื่อหรือแมลงที่ตกลงไปภายในถุงดักแมลง

51-4-7 

ภาพที่ 5 โครงสร้างภายในถุงดักแมลง

                หม้อข้าวหม้อแกงลิงมีกลวิธีในการหลอกล่อเหยื่อให้ตกลงไปในถุงดักแมลง โดยถุงดักแมลงมีสีสันสวยงามและมีต่อมน้ำหวานที่บริเวณฝาของถุงดักแมลง ซึ่งต่อมน้ำหวานนี้จะกระจายอยู่ทั่วบริเวณของฝาปิดถุงดักแมลง เพื่อดึงดูดเหยื่อหรือแมลง และนอกจากนี้บริเวณขอบปากของถุงดักแมลงยังมีลักษณะเป็นซี่(คลื่น) ซึ่งมีสารคิวทินเคลือบอยู่ ทำให้มีลักษณะลื่น ดังนั้นเมื่อเหยื่อที่มาดูดน้ำหวานเกาะที่บริเวณขอบปากของถุงดักแมลงมีโอกาสจะลื่นตกลงไปในถุงดักแมลง หรือบินเข้าไปผ่านในถุงดุกแมลงจะถูกย่อยสลายด้วยน้ำย่อยที่อยู่ภายในถุงดักแมลงต่อไป

 

animation

http://www.youtube.com/watch?v=trWzDlRvv1M    video การเจริญของถุงดักแมลงหรือหม้อ

 22,930 total views,  1 views today