หมึก… ความสำคัญเชิงนิเวศ

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2547

47-9-1

พงษ์ ทรงพุฒิ

                    ภาพรถเข็นขายหมึกย่าง สำหรับผู้คนในเมืองใหญ่ๆ คงจะไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนัก แต่สำหรับเมืองขนาดกลางและขนาดเล็กภาพของรถเข็นขายหมึกย่างคงคุ้นตาผู้คนในชุมชนได้เป็นอย่างดี รถเข็นขายหมึกย่างคันนี้จะนำมาสร้างเป็นประเด็นของการศึกษาเรื่องอะไรได้บ้าง สำหรับชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยเฉพาะวิชาชีววิทยา

47-9-2    47-9-3

                    เรื่องของหมึกที่ต้องเรียนในโรงเรียนก็จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ (Movement)การจัดจำแนกกลุ่มของสิ่งมีชีวิต (Taxonomy) ลักษณะโดยทั่วไปของหมึก คำถามที่เกิดขึ้นตามมาบ่อยครั้งก็คือ 
                   
                    ทำไมต้องเอาเรื่องหมึกมาให้เรียนในชั้นเรียน?

                    หมึกมีความสำคัญอะไรอีก นอกจากใช้เป็นอาหารของมนุษย์แล้ว?

                    และภาพของเรือตกหมึกที่เปิดไฟสว่างไสวก็คงเป็นภาพที่คุ้นตาที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อต่างๆ หมึกเป็นสัตว์ที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มมอลลัส (Mollusk) จะกินสัตว์ขนาดเล็กที่ลอยในทะเล ((Zooplankton) และกินปลาที่มีขนาดเล็ก เป็นอาหาร หมึกเป็นสัตว์ที่มีลักษณะเฉพาะ เคลื่อนที่ด้วยการดูดน้ำเข้าไปในลำตัวจากนั้นก็จะพ่นน้ำออกทางรูเล็กๆ และอาศัยแรงดันน้ำเป็นแรงสำหรับการขับเคลื่อนตัวเหมือนเครื่องบินเจ็ท และด้วยแรงดันน้ำนี่เองที่ทำให้หมึกเคลื่อนที่ไปมาได้อย่างว่องไวและรวดเร็ว หมึกสามารถล่าเหยื่อและหลบหลีกอันตรายต่างๆ ได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้หมึกยังมีความ สามารถในการพลางตัว สามารถเปลี่ยนสีลำตัวจากสีแดงเข้มและน้ำตาล ไปเป็นสีชมพูและม่วงได้ และเมื่อถูกรบกวน หมึกก็จะปล่อยหมึกสีดำออกมาเพื่อพลางตัวสำหรับการหลบหนี 

                    หน้าที่สำคัญของหมึกในมหาสมุทร 
                    หมึกเป็นตัวกลาง หรือตัวเชื่อมต่อของสายใยอาหารในมหาสมุทร เนื่องจากหมึกอยู่ในฐานะที่ทั้งเป็นนักล่าที่ดุร้ายกินสัตว์หลายชนิดเป็นอาหาร และขณะเดียวกันก็เป็นเหยื่ออันโอชะของปลาขนาดใหญ่และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล โดยทั่วไปแล้วหมึกจะอาศัยเคลื่อนที่ไปมาตามพื้นทะเลในช่วงเวลากลางวันเพื่อหลีกเลี่ยงการตกเป็นเหยื่อของสัตว์นักล่าหลายชนิด และจะขึ้นมาหากินบริเวณผิวน้ำในช่วงเวลากลางคืนเท่านั้น สัตว์กินหมึกเป็นอาหารหลักและชอบหมึกเป็นพิเศษ ก็เช่น ปลาฉนาก (Swordfish), ปลากระโทง (marlin), ปลาทูน่า (tuna) และโลมาปากขวด (bottlenose dolphins) ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องช่วยกันดูแลให้จำนวนประชากรของหมึกอยู่ในสมดุล เพื่อที่จะทำให้ระบบนิเวศในทะเลคงอยู่กับเราไปนานๆ 
                    และไม่ใช่เฉพาะปลาและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในทะเลเท่านั้นที่กินหมึกเป็นอาหาร มนุษย์เองก็อาศัยกินหมึกเป็นอาหาร และใช้หมึกเป็นเหยื่อสำหรับตกปลาชนิดอื่นๆ อีกด้วย มนุษย์เราจับหมึกโดยใช้อวนลากและวางเบ็ดราวใต้แสงไฟในตอนกลางคืน และการจับหมึกมากเกินไปเป็นเหตุให้สมดุลของระบบนิเวศทางทะเลสูงไป 

                    ทำไมประชากรของหมึกจึงมีการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
 

47-9-4     47-9-5

                     หมึกเป็นสัตว์ที่ฝรั่งให้นิยามว่า “Annual species – meaing they are born and die in one year” คือเกิดมา เติบโต สืบพันธุ์และก็จะตายไป ทำให้จำนวนประชากรของหมึกในแต่ละปีจะขึ้นอยู่กับจำนวนของหมึกที่อยู่รอดและเติบโตมาจากปีก่อนหน้านั้น จากข้อมูลในอดีตที่ผ่านมา พบว่า ถ้าปีใดที่มีการจับหมึกขึ้นมาขายมากินกันมากๆ ในปีถัดมาจำนวนหมึกก็จะลดจำนวนลง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจำนวนประชากรของหมึกในทะเล จะขึ้นอยู่กับการทำการประมงทางทะเลเป็นสำคัญ 
                    การป้องกันการจับหมึกเกินพิกัด 
                    น้อยคนหนักที่จะบอกว่าหมึกไม่อร่อย ทำให้ความต้องการหมึกจากทะเลมาเป็นอาหารยังคงมีมากอยู่ และยังคงเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของประชากรที่เพิ่มขึ้น การคมนาคมขนส่งที่สะดวกรวดเร็วมากขึ้น 
                    กลายเป็นปัญหาที่สำคัญ สำหรับเรื่องของการจัดการเกี่ยวกับการจับหมึกเพื่อการค้า เรามักจะไม่ค่อยคำนึงถึงความสมดุลของการจับหมึก และจำนวนหมึกที่เหลืออยู่ และเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เราควรจะจับเท่าไหร่ และเหลือหมึกปล่อยไว้ในทะเลเท่าไหร่ ถึงจะอยู่ในสมดุลพอดี ทำให้สายใยอาหารอยู่ในสมดุล 
                    นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับหมึกรู้ดีว่า หมึกมีอัตราการตายตามธรรมชาติสูง แต่ก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่ามีจำนวนเท่าใด และยังไม่รู้ว่าหมึกถูกล่าโดยสัตว์ชนิดใดมากที่สุด บวกกับสถานการณ์การล่าหมึกมาเป็นอาหารและเพื่อการค้า ทำให้สถานภาพของหมึกที่อยู่ในระบบนิเวศอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง 

                    เอ…ถ้าอย่างนั้น เราจะมีหมึกกินถึงเมื่อไหร่หนอ 

                     สำหรับการค้นหาภาพหมึกจากอินเทอร์เน็ท ก็ให้เข้าไปในเว็บสำหรับการค้นหา (Search Engine) อย่างเช่น www.google.com หรือไม่ก็เข้าไปที่ www.siamguru.com ก็ได้ และพิมพ์คำค้นหา เช่น squid จากนั้นก็กำหนดให้ค้นหาเฉพาะรูปภาพ ก็จะได้รูปภาพมาแสดงให้เห็นกันครับ 
 

แปลและเรียบเรียงจาก 

SQUID – National Coalition For Marine Conservation 
Available at http://www.savethefish.org/PDF_files/fish_file_9_squid.pdf 

เว็บไซต์สำหรับศึกษาเพิ่มเติม (search by spong@) 

1. http://www.sanctuaries.nos.noaa.gov/special/squid/squidharvest.html กรณีศึกษาผลของการ 
    จับหมึกมากเกินไป ใน California 
2. http://www.antarctica.ac.uk/About_Antarctica/Wildlife/Fish_and_Squid/ ความสำคัญของ 
    หมึกใน Antarctica 
3. http://www.visi.com/~amolitor/squid/biology.html Squid Biology – เรื่องอาหาร พฤติกรรม 
    การจับคู่ และการสืบพันธุ์ 
4. http://www.vims.edu/newsmedia/pdfs/EndNote19.pdf Large Squid Discovered 

 
Last updated 12/22/2009 13:11:59 
 

 6,675 total views,  13 views today