ชีพจร (Pulse)

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2546

นายแพทย์วีระ เยาวพฤกษ์ 

                    หลายๆ คนคงเคยรู้จักการจับชีพจรจากการชมภาพยนตร์เกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตและคงสงสัยว่าชีพจรคืออะไร การจับชีพจรบอกอะไรกับแพทย์บ้างและมีวิธีการอย่างไร

                    ชีพจรเป็นการขยายตัวและหดตัวของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เป็นจังหวะตามคลื่นความดันที่มาจากหลอดเลือดแดงใหญ่ใกล้หัวใจ สามารถจับได้ทั้งที่ข้อมือ (radial) ข้อพับศอก (brachial) ข้างคอ (carotid) ขาหนีบ (femoral) หลังเข่า (poplitial) และหลังเท้า (pedal pulse) การจับชีพจรโดยปกติ เริ่มที่ข้อมือ วิธีจับชีพจรเราใช้คลำโดยหงายมือผู้ป่วยขึ้น วางนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง ของเราลงบนตำแหน่งของชีพจรตรงข้อมือ และวางนิ้วหัวแม่มือไว้ทางด้านหลังข้อมือของ ผู้ป่วย ดังภาพ

46-2-1
ภาพแสดงการจับชีพจรบริเวณข้อมือ

                    กดปลายนิ้ว ลงบนข้อมือด้วยแรงพอประมาณ จนรู้สึกถึงการเต้นของชีพจร หลังจากนั้น จึงนับชีพจร การจับชีพจรจะช่วยบอก 
                    ก. อัตราการเต้นของหัวใจกี่ครั้ง/นาที 
                    ข. จังหวะการเต้นของหัวใจสม่ำเสมอหรือไม่ 
                    ค. ชีพจร 2 ข้างเท่ากันหรือไม่ 
                    ง. ลักษณะของชีพจร 

                    ในรายที่มีชีพจรสม่ำเสมอ ปกติเราใช้นับจำนวนชีพจรใน 15 วินาที และคูณ 4 จะเป็นอัตราการเต้นของหัวใจต่อนาที ปกติจะอยู่ระหว่าง 60-100 ครั้ง/นาที และจังหวะคงที่สม่ำเสมอ ถ้ามากหรือน้อยกว่านี้ หรือไม่สม่ำเสมอถือว่าผิดปกติ 

                    การตรวจชีพจรร่วมกับการฟังเสียงหัวใจและการตรวจร่างกายอื่นๆ ประกอบกับประวัติความเจ็บป่วยที่สัมภาษณ์ได้ ช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคต่างๆ และเลือกส่งตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ตามความเหมาะสม 

เอกสารอ้างอิง 

การสัมภาษณ์ประวัติและตรวจร่างกาย โครงการตำราจุฬาอายุรศาสตร์ ฉบับที่ 10 98-99, 115-116 พิมพ์ครั้งที่ 8 .2541 

เว็บไซต์สำหรับศึกษาเพิ่มเติม 

1. http://www.viahealth.org/rgh/departments/cardiac/cardiacsurgeries.htm 
    Coronary Artery Bypass Graft Surgery (CABG) – ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่ของหัวใจ, 
    เส้นเลือด coronary artery, โรคที่เกิดกับเส้นเลือดชนิดนี้, และการผ่าตัดหัวใจมีกี่แบบ ดูรายละเอียดได้ที่นี่ 
    พร้อมภาพประกอบการเรียนการสอน 
2. http://www.learnaboutbypass.com/atgtemplate.jsp?pid=c 
    การผ่าตัด Bypass คืออะไร? – พร้อมภาพประกอบสวยๆ 
3. http://www.elib-online.com/doctors3/food_heart03.html 
    ถ้าอ่านไปใจสั่นไป หรือบ่นเด็กในห้องเรียนแล้วรู้สึกเหนื่อย ห้ามพลาด บทความภาษาไทย "อาหารกับโรคหัวใจ" 
3. http://www.clinic.worldmedic.com/disease/hemato/hemato6.htm 
    บทความภาษาไทย เรื่อง "โรคหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย" 

Copyright  © 2002  The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). All rights reserved. 
Last updated 03/19/2007 15:43:19 
 

 20,979 total views,  2 views today