การผ่าตัด Bypass หลอดเลือดโคโรนารีโดยใช้กราฟท์

เขียนโดย biology เมื่อ . หัวข้อ บทความ, บทความปี 2546

การผ่าตัด Bypass หลอดเลือดโคโรนารีโดยใช้กราฟท์(Coronary Artery Bypass Graft, CABG)

 
                    ในปัจจุบันวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปอันทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน ความเครียด ฯลฯ มีผลทำให้ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart Disease) มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก การรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเริ่มจากการปรับปรุงวิถีชีวิต ได้แก่ การงดสูบบุหรี่ ลดความอ้วน ควบคุมอาหาร ฯลฯ การใช้ยาในการรักษา การใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด (Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty) จนถึงการผ่าตัด bypass หลอดเลือดโคโรนารีโดยใช้กราฟท์ (Coronary Artery Bypass Graft, CABG) 

                    ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ได้แก่

  1. อาการเจ็บหน้าอกเรื้อรังจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาโดยใช้ยา
  2. อาการเจ็บหน้าอกแย่ลงทั้งๆ ที่ได้รับการรักษาด้วยยาอย่างเต็มที่
  3. มีภาวะแทรกซ้อนของโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดฉับพลัน เช่น ภาวะหัวใจล้มเหลว ฯลฯ โดยจะไม่ทำการผ่าตัด ในรายที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง และมีการตายของผนังหัวใจมาก ซึ่งการรักษาเพียงอย่างเดียว คือ การปลูกถ่ายหัวใจ


                    จากการศึกษาต่างๆ พบว่าทั้ง PTCA และ CABG มีความปลอดภัยและได้ผลดีมากใน การลดอาการเจ็บหน้าอกจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โดยผู้ป่วยที่ได้รับการทำ PTCA จะมีระยะเวลาในการอยู่โรงพยาบาลสั้นกว่า ปวดแผลน้อยกว่า พักฟื้นเร็วกว่า ส่วนการทำ CABG จะทำให้ได้หลอดเลือดใหม่ที่ไม่ตีบตัน และบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกได้ยาวนานกว่า 

                    การผ่าตัด CABG โดยทั่วไปแพทย์จะเปิดแผลผ่าตัดกลางหน้าอก (Median Sternotomy Incision) มีการใช้เครื่องปอด-หัวใจเทียม (Cardiopulmonary bypass) มีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 28-32 องศาเซลเซียส และใช้สารหยุดการเต้นของหัวใจ (Cardioplegia) ในการรักษากล้ามเนื้อหัวใจไว้ หลอดเลือดที่นำมาเป็นกราฟท์ นำมาจากหลอดเลือดดำ Saphenous บริเวณขา หรือหลอดเลือดแดงหลังกระดูกหน้าอกด้านซ้าย (heft internal mammary artery) หรือหลอดเลือดเส้นอื่นๆ ตามความเหมาะสมและความถนัดของศัลยแพทย์ทรวงอก ซึ่งกราฟท์จะทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหลอดเลือดแดงโคโรนารีส่วนต้นที่ยังไม่ตีบตันไปยังกล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่ขาดเลือด 

                    อัตราการตายจากการผ่าตัด CABG คือ 1-3 % โดยจะมีความเสี่ยงมากขึ้นในผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 65 ปี เป็นเบาหวาน ไตวาย ฯลฯ 

                    ปัจจุบันมีพัฒนาการของการผ่าตัดให้มีแผลผ่าตัดเล็กลง โดยใช้กล้องส่องช่วยในการ ผ่าตัด (Mimimally Invasive Surgery) 

 
เอกสารอ้างอิง 

Principles of Surgery. Schwartz McGRAW-HILL .7th .1999. 859-869. 

เว็บไซต์สำหรับศึกษาเพิ่มเติม

1. http://www.viahealth.org/rgh/departments/cardiac/cardiacsurgeries.htm 
    Coronary Artery Bypass Graft Surgery (CABG) – ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่ของหัวใจ, 
    เส้นเลือด coronary artery, โรคที่เกิดกับเส้นเลือดชนิดนี้, และการผ่าตัดหัวใจมีกี่แบบ ดูรายละเอียดได้ที่นี่ 
    พร้อมภาพประกอบการเรียนการสอน 
2. http://www.learnaboutbypass.com/atgtemplate.jsp?pid=c 
    การผ่าตัด Bypass คืออะไร? – พร้อมภาพประกอบสวยๆ 
3. http://www.elib-online.com/doctors3/food_heart03.html 
    ถ้าอ่านไปใจสั่นไป หรือบ่นเด็กในห้องเรียนแล้วรู้สึกเหนื่อย ห้ามพลาด บทความภาษาไทย "อาหารกับโรคหัวใจ" 
3. http://www.clinic.worldmedic.com/disease/hemato/hemato6.htm 
    บทความภาษาไทย เรื่อง "โรคหัวใจขาดเลือด โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย" 

 
                    ในปัจจุบันวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปอันทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความอ้วน ความเครียด ฯลฯ มีผลทำให้ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Ischemic Heart Disease) มีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก การรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเริ่มจากการปรับปรุงวิถีชีวิต ได้แก่ การงดสูบบุหรี่ ลดความอ้วน ควบคุมอาหาร ฯลฯ การใช้ยาในการรักษา การใช้บอลลูนขยายหลอดเลือด (Percutaneous Transluminal Coronary Angioplasty) จนถึงการผ่าตัด bypass หลอดเลือดโคโรนารีโดยใช้กราฟท์ (Coronary Artery Bypass Graft, CABG) 

Copyright  © 2002  The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). All rights reserved. 
Last updated 03/19/2007 15:43:19 
 

 6,080 total views,  1 views today